เศรษฐกิจภาคป่าไม้ไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี

Main Article Content

วิชชุดา สร้างเอี่ยม

บทคัดย่อ

การที่ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในปี ค.ศ. 2065 นอกจากจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังหมายถึงการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูดกลับคาร์บอน ทั้งป่าเศรษฐกิจ ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่สีเขียวในเมือง รวมถึงการปลูกไม้เศรษฐกิจจากการทำสวนป่าที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศป่าไม้ที่สามารถเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสู่โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว หรือเศรษฐกิจบีซีจี บทความนี้ทบทวนและอธิบายการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจภาคป่าไม้ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงการเกิดขึ้นของโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ผ่านการเปรียบเทียบนโยบายการส่งเสริมป่าเศรษฐกิจ การคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนภาคป่าไม้ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์นโยบาย ตลอดจนการทับซ้อนและความไม่ลงรอยกันในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจภาคป่าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์นำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจภาคป่าไม้ไปสู่โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ. กรอบงานเรดด์พลัส: หลักการและแนวทางการดำเนินการ, ชุดเรียนรู้: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ และกรอบงานเรดด์พลัส, (กรุงเทพมหานคร: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2561).

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, การจ่ายค่าตอบแทนการบริการของระบบนิเวศ: เรดด์พลัส, ชุดเรียนรู้: โลกร้อน เรดด์พลัส และสิ่งแวดล้อมป่าไม้,(กรุงเทพมหานคร: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2559).

คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ, นโยบายป่าไม้แห่งชาติ, (กรุงเทพมหานคร: กองแผนงาน กรมป่าไม้, 2528).

คณะอนุกรรมการจัดทำร่างนโยบายป่าไม้แห่งชาติและร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ, นโยบายป่าไม้แห่งชาติ, (กรุงเทพมหานคร: สำนักแผนงานและสารสนเทศ กรมป่าไม้, 2563).

เทียม คมกฤส, นโยบายการป่าไม้, (กรุงเทพมหานคร: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2514).

บทความ

Bruenig, Eberhard F., “Paradigm change, expedience or fashion? Policy inconsistencies in the Congo Basin countries.” International Forestry Review, Vol. 8, No. 1 (March 2006), 133 – 137.

Castro, Cyndi V., “Systems-thinking for environmental policy coherence: Stakeholder knowledge, fuzzy logic, and causal reasoning.” Environmental Science and Policy, Vol. 136 (October 2022), 413 – 427.

Hall, Peter A., “Policy Paradigms, Social Learning, and the State: The Case of Economic Policymaking in Britain.” Comparative Politics, Vol. 25, No. 3 (April 1993), 275 – 296.

Gutiérrez-Zamora, Violeta, Irmeli Mustalahti, and Diego García-Osorio, “Plural values of forests and the formation of collective capabilities: Learnings from Mexico’s community forestry.” Environmental Sociology, Vol. 9, No. 2 (2023), 117 – 135.

Paquette, Alain and Christian Messier, “The role of plantations in managing the world’s forests in the Anthropocene.” Frontiers in Ecology and the Environment, Vol. 8, No. 1 (February 2009), 27 – 34.

Pye, Oliver, “Forest policy and strategic groups in Thailand.” Internationales Asienforum, Vol. 36, No. 3 – 4 (2005), 311 – 336.

Sewerin, Sebastian, Benjamin Cashore, and Michael Howlett, “New pathways to paradigm change in public policy: Combining insights from policy design, mix and feedback.” Policy and Politics, Vol. 50, No. 3 (June 2022), 442 – 459.

Studlar, Donley T. and Paul Cairney, “Conceptualizing punctuated and non-punctuated policy change: Tobacco control in comparative perspective.” International Review of Administrative Sciences, Vol. 80, No. 3 (July 2014), 513 – 531.

Szuleck, Julia, Jürgen Pretzsch, and Laura Secco, “Paradigms in tropical forest plantations: A critical reflection on historical shifts in plantation approaches.” International Forestry Review, Vol. 16, No. 2 (2014), 128 – 143.

Um, Dan-Bi., “Exploring the operational potential of the forest-photovoltaic utilizing the simulated solar tree.” Scientific Reports, Vol 12 (2022), 12838.

Wilder, Matt and Michael Howlett, “Paradigm construction and the politics of policy anomalies.” In Policy Paradigms in Theory and Practice, edited by John Hogan and Michael Howlett, 101 – 115. London: Palgrave Macmillan, 2015.

ธนวัฒน์ รุ่งเรืองตันติสุข, “การอนุรักษ์ป่าไม้กับบทบาทใหม่ของกองทัพไทย ภายหลังการทำสงครามต่อต้าน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย: กรณีโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อม โทรม.” วารสารประวัติศาสตร์, ปีที่ 45, ฉบับที่ 1 (2563), 117 – 132.

ธันยากรณ์ ศรเกษตรินทร์, “มาตรการการจ่ายค่าตอบแทนการบริหารจัดการระบบนิเวศป่าไม้.” วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, ปีที่ 4, ฉบับที่ 3 (2562), 329 – 344.

บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ, “การเมืองเรื่องป่าชุมชน: ปัญหาเชิงนโยบายและระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในสังคมไทย.” วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่ 37, ฉบับที่ 2 (2561), 144 – 162.

โอฬาร อ่องฬะ และวัชรพล พุทธรักษา, “รัฐองค์รวมกับการศึกษาเชิงวิพากษ์ของการจัดการทรัพยากรป่าไม้และ ที่ดิน หลังพฤษภาคม 2557.” CMU Journal of Law and Social Sciences, ปีที่ 12, ฉบับที่ 2 (2562), 64 – 84.

ออนไลน์

Forest and Agriculture Organization. Global Forest Resources Assessment 2020: Main report. Rome, 2020. https://doi.org/10.4060/ca9825en

International Tropical Timber Organization. “Revised ITTO Criteria and Indicators for the Sustainable Management of Tropical Forests including Reporting Format.” ITTO Policy Series No. 15. ITTO Yokohama, Japan, 2005. https://www.itto.int/policy_papers/

“Thailand’s Fourth Biennial Update Report (BUR).” United Nations Framework on Climate Change (website, 29 December 2022). https://unfccc.int/documents/ 624750 (accessed 5 February 2023).

“Thailand’s Long-term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy (Revised Version).” Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, November 2022. https://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2023/05/Thailand-LT-LEDS-Revised-Version_08Nov2022.pdf

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. “แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570.” https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/BCG-Actioion-Plan.pdf (สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565).

คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ. “แผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ.” เอกสารกรมป่าไม้, 6 พฤศจิกายน 2562. https://www.forest.go.th/planning/wp-content/uploads/sites/6/2022/12/2.-แผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ.pdf (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565).

ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ. “กลไกการจัดการด้านการเงินการคลังของพื้นที่อนุรักษ์: กรณีเขตผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่.” รายงานทีดีอาร์ไอ, ฉบับที่ 117 (กรกฎาคม 2558), 1 – 32. https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/06/wb117.pdf (สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566).

วีรศักดิ์ โควสุรัตน์. “สวนป่าเศรษฐกิจ: วิธีกู้โลกร้อนที่ดีที่สุด.” ไทยพับลิก้า, 13 เมษายน 2565. https://thaipublica.org/2022/04/weerasak-kowsurat24 (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565).

ศรายุทธ ฤทธิพิณ. “จาก คจก. ยุคเผด็จการ รสช. สู่ยุคทวงคืนผืนป่าภาค 2 ภายใต้คำสั่ง คสช.” ประชาไท (prachatai.com), 30 มิถุนายน 2558. https://prachatai.com/journal/2015/06/60088 (สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2566).

“สถิติการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER.” ฐานข้อมูลและสถิติ กลไกลดก๊าซเรือนกระจก, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (เว็บไซต์). https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-database-and-statistics/t-ver-project-stat-report.html (สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566).

“ส่องกลยุทธ์ ‘กฟผ’ สู่คาร์บอนต่ำ ศึกษาเทคโนโลยีโลกใช้ในไทย.” เดลินิวส์ (dailynews.co.th), 13 สิงหาคม 2566. https://www.dailynews.co.th/news/2615730/ (สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566).

“สัมปทานป่าไม้ บทเรียนจากสายน้ำเลือด.” มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (seub.or.th), 18 พฤศจิกายน 2560. https://www.seub.or.th/seub/บทความ/สัมปทานป่าไม้-บทเรียนจา/ (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “โครงการการพัฒนาระบบสถิติข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ.” รายงานฉบับสมบูรณ์, ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรกฎาคม 2564. http://nscr.nesdc.go.th/ wp-content/uploads/2021/12/ประเด็นที่-18_การเติบโตอย่างยั่งยืน.pdf (สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565).

องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก. “ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology): ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว.” https://ghgreduction.tgo.or.th/en/methodology/methodology-for-voluntary-emission-reduction/forestry-and-green-space.html (สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565).

องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. “หลักเกณฑ์การจำหน่ายคาร์บอนเครดิตขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2564.” เอกสารแนบท้ายคำสั่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่ 169/2564, 1 ธันวาคม 2564. https://www.fio.co.th/carboncredit/j641220-4-carboncredit.pdf (สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566).

กฎหมาย

Paris Agreement to the United Nations Framework Convention on Climate Change. United Nations Treaty Series Online, Volume 3156, No. I-54113, 12 December 2015. https://treaties.un.org/doc/Publication/UNTS/Volume 3156/Part/volume-3156-I-54113.pdf

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ, คำสั่ง ที่ 64/2557 เรื่องการปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้, 14 มิถุนายน 2557.

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ, คำสั่ง ที่ 66/2557 เรื่องเพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน, 17 มิถุนายน 2557.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 128 ตอนพิเศษ 152 ง, 14 ธันวาคม 2554.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ258 ง, 1 พฤศจิกายน 2565.

พระราชบัญญัติป่าชุมชน, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก, 29 พฤษภาคม 2562, 71 – 103.

พระราชบัญญัติป่าไม้, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 58, 15 ตุลาคม 2484, 1417 – 1451.

พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก, 16 เมษายน 2562, 106 – 110.

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 81 ตอนที่ 38, 28 เมษายน 2507, 263 – 281.

พระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ 2), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 132 ตอนที่ 44 ก, 22 พฤษภาคม 2558, 1 – 8.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก, 13 ตุลาคม 2561.

ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138 ตอนพิเศษ 161 ง, 19 กรกฎาคม 2564, 23 – 28.

ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูก บำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าไม้, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 20 ง, 27 มกราคม 2565, 1 – 3.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, มติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/36546 เรื่อง ร่างนโยบายป่าไม้แห่งชาติ, 6 พฤศจิกายน 2562.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, มติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/26015 เรื่อง ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน, 5 ตุลาคม 2565.