การศึกษากระบวนทัศน์การอภิบาล มุมมองผ่านเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ชัชวินธ์ ตันติเวชวาณิชย์
สุธรรมา ปริพนธ์เอื้อสกุล

บทคัดย่อ

ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายขับเคลื่อนโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  สามารถอธิบายแนวคิดทฤษฎีที่อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์การอภิบาลแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเด็นศึกษา หนึ่ง แนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน อธิบายกระบวนการบูรณาการในแนวราบที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม บทบาทผู้อำนวยความสะดวก การตัดสินใจแบบฉันทามิติ ความเชื่อที่ว่าการสื่อสารที่ดีที่สุดคือการพบปะกัน และการบริหารทรัพยากรบุคคลที่หน่วยงานแกนเป็นผู้แบกรับภาระ  สอง แนวคิดการจัดการปกครองเครือข่าย ช่วยอธิบายการออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสม การระดมทรัพยากร การแบ่งบทบาทหน้าที่ของตัวแสดง การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการกำกับดูแลเครือข่ายที่ดี  และสาม แนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองเชิงพื้นที่ ช่วยอธิบายบทบาทผู้นำที่ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์หลายระดับ แบบแผนการทำงาน การสร้างความชอบธรรม การเลือกตัวแสดงที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ การออกแบบกิจกรรมที่สอดรับกับสภาพปัญหาในพื้นที่ และการยอมรับการสื่อสารภายที่เป็นทางการ เป็นต้น  ข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่ การกำหนดเงื่อนไขของหน่วยงานผู้ให้ทุนอาจลดทอนความเป็นอิสระเครือข่ายได้  ผู้นำภาคประชาสังคมที่ดีควรมีอำนาจบารมีและเครือข่ายเป็นทุนเดิม การกำหนดให้ตัวแสดงสำคัญของกลไกย่อยเป็นส่วนหนึ่งในกลไกหลักสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารได้  แรงจูงใจของการอภิบาลอาจมาจากความคาดหวังจากตัวแสดงอื่น ๆ และการจัดตั้งกลไกเชิงภารกิจเฉพาะอย่างเป็นทางการมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chhotray, V. and Stoker, S., Governance Theory and Practice: A Cross-Disciplinary Approach, (Great British: Palgrave Macmillan).

Goss, S.,Making Local Governance Work: Network, Relationship and the Management of Change, (New York: Palgrave, 2011).

Bevir, M., Key Concepts in Governance, (London: SAGE Publications Ltd).

โกลด์สมิท, สตีเฟน และ เอกเกอร์, วิลเลียม ดี, การบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย: มิติใหม่การบริหารงานภาครัฐ, แปลโดย จักร ติงศภัททิย์ และกฤษฎา ปราโมชน์ธนา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด).

Agbodzakey, J. K., “Leadership in Collaborative Governance: The Case of HIV/AIDS Health Services Planning Council in South Florida,” International Journal of Public Administration, Vol. 44, 2021 - Issue 13, 1051-1064.

Albrechts, L., “Bridge the Gap: From Spatial Planning to Strategic Projects,” Journal of European Planning Studies, Vol. 14, No. 10 (2006), 1487-1550.

Ansell, C. and Gash, A., “Collaborative Governance in Theory and Practice,” Journal of Public Administration Research and Theory, Vol. 18, No. 4 (2008), 543-571.

Batti. R. C., “Challenges Facing Local NGOs in Resource Mobilization,” Journal of Humanities and Social Sciences, Vol. 2, No. 3 (2014), 57-64.

Brass, D. J., Galaskiewicz, J., Greve, H. R. and Tsai, W. (2004). “Taking Stock of Networks and Organizations: A Multilevel Perspective,” Academy of Management Journal, Vol. 47, No. 6 (2004), 795–817.

Chris, H., “Theorizing Collaboration Practice. Public Management Review,” Vol. 5, No. 3 (2003), 401-423.

Emerson, K., Nabatchi, T., Balogh, S. (2012). “An Integrative Framework for Collaborative Governance,” Journal of Public Administration Research and Theory, Vol. 22, Issue 1, (January 2012), 1-29.

Imperial, M. T. et al., “Understanding Leadership in a World of Shared Problems: Advancing Network Governance in Large Landscape Conservation, Frontiers in Ecology and the Environment,” Vol. 14, No. 3 (2016), 126-134.

Klijn, E.H., Koppenjan, J., and Termeer, C. J. A. M., “Managing Networks in the Public Sector: a Theoretical Study of Management Strategies in Policy Networks,” Journal of Public administration, Vol. 73, No. 3 (2007), 437-454.

Klijn, E.H., Koppenjan, J., and Termeer, C.J.A.M.,”Managing Networks in the Public Sector: a Theoretical Study of Management Strategies in Policy Networks,” Journal of Public administration, Vol. 73, No. 3 (1995), 437-454.

Larrea J., Aranguren, M. J. and Valdaliso, J. M., “Exploring the Role of Leadership in Territorial Strategies for Competitiveness,” Competitiveness Review, Vol. 27, Issue 4 (2017), 390-409.

Provan, K. G. and Kenis, P., “Modes of Network Governance and Implications for Network Management and Effectiveness,” Prepared for presented at the Public Management Research Association meeting, September 29 to October 1, 2005, at the University of Southern California, Los Angeles, California.

Provan, K. G., “Embeddedness, Interdependence, and Opportunism in Organizational Supplier-Buyer Networks,” Journal of Management, Vol. 19, No. 4 (1993), 841-856.

Provan, K.G. and Patrick, K., “Modes of Network Governance and Implications for Network Management and Effectiveness,” Journal of Public Administration Research and Theory, Vol. 18, Issue 2 (2008), 229–252.

Stead, D., “The Rise of Territorial Governance in European Policy,” Journal of European Planning Studies, Vol. 22, Issue 7 (2014), 1368–1383.

พิณสุดา สิริธรังศร, “การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา,” วารสารสุทธิปริทัศน์, ปีที่ 33 ฉบับที่ 106 (เมษายน – มิถุนายน 2562), 1-16

Böhme, K., Zillmer, S., Toptsidou, M. and Holstein, F., Territorial Governance and Cohesion Policy, Directorate-General for Internal Policies Policy Department B: Structural and Cohesion Policies, (Luxembourg: European Parliament 2020).

Nadin, V., Smas, L., Schmitt, P. and Cotlla, G., COMPASS - Comparative Analysis of Territorial Governance and Spatial Planning Systems in Europe, Applied Research 2016 - 18, ESPON, European Union.

Szuppinge, P. and Kállay, T., Multi-Stakeholder Governance Mode Final Version, (Vienna: European Union Development Fund, European Union 2018).

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล, รายงานโครงการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เรื่อง การปฏิรูปการกระจายอำนาจและการจัดการปกครองท้องถิ่น, (ชุดหนังสือการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย).

อริศรา เล็กสรรเสริญ และคณะ, รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการประเมินผลโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ปีงบประมาณ 2563, (คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563).