การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศและความท้าทายในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศและความท้าทายในศตวรรษที่ 21” มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสำรวจขอบข่ายการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันของต่างประเทศ 2. เพื่อวิเคราะห์ทิศทางการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคต งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศ พิจารณาสถานภาพขององค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการเรียนการสอนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศ ว่ามีการจัดโครงสร้างการเรียนการสอนในรูปแบบคณะ ภาควิชา หรือหลักสูตร โดยพิจารณาจากการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาชั้นนำของต่างประเทศ ตลอดจนพิจารณาถึงขอบข่ายการศึกษาทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีในต่างประเทศของนักวิชาการกลุ่มต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. สำรวจขอบข่ายการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันของต่างประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท เน้นการบูรณาการความรู้และความเข้าใจหลักการด้าน
รัฐประศาสนศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยบูรณาการร่วมกับสาขาวิชาอื่นที่นอกเหนือจากรัฐประศาสนศาสตร์ เน้นสร้างความเข้าใจในหลักวิชาการและองค์ความรู้ด้านการวิจัยมาบูรณาการร่วมกันเป็นองค์ความรู้หลัก และ 2.วิเคราะห์ทิศทางการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคต พบว่า ในอนาคตทิศทางการศึกษามุ่งเน้นขอบข่ายองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะเป็นวิชาหลัก ซึ่งมีพัฒนาการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทภูมิสังคมทางการบริหารในแต่ละช่วงเวลา โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทั้งผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะนั้น เพื่อความหลากหลายและสอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Dooren, W. van, Bouckaert, G., & Halligan, J., Performance management in the public sector, (2nd ed.), (Routledge, 2015).
Golembiewski, Robert T, Practical Public Management, (New York: Marcel Dekker, 1995) :240-246.
J. Pierre, Debating Governance “Introduction: Understanding Governance,” in Jon Piere (ed.). (Oxford: Oxford University Press, 2000): 2-4.
Peters, Thomas J. & Waterman, Robert H. Jr, In search of excellence (2nd ed.). (London: Profile Book, 2004).
Henry, N., Public administration and public affairs, (Prentice Hall, 2010).
T. Bovaird, and E. Loeffler, Public management and governance (3rd ed.), (Oxon: Routledge, 2016).
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, แนวคิด ทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์ (Concept theory and principles of public administration), พิมพ์ครั้งที่ 10, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554).
นงลักษณ์ วิรัชชัย, การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis), (กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง, 2542).
นงลักษณ์ วิรัชชัย, การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta- analysis) (รายงานผลการวิจัย), (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551).
บุญทัน ดอกไธสง, รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก (Disruptive public administration), (อยุธยา: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,2562)
วลัยพร รัตนเศรษฐ, รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง, (นนทบุรี:สถาบันพระปกเกล้า, 2557).
สินธุ์ สโรบล, เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ:การสำรวจองค์ความรู้และการจัดการโดยชุมชนในภาคเหนือตอนบน ระยะที่1 (รายงานผลการวิจัย), (เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2554).
สรายุทธ กันหลง, ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานผลการวิจัย), (กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์, 2553).
อุทัย เลาหวิเชียร, รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ, (กรุงเทพฯ: เสมาธรรม, 2550).
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่าน, “การวิเคราะห์อภิมาน: หลักการและแนวปฏิบัติ,” วารสารการวัดผลการศึกษา, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (2548), 86 - 98.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน, “การวิเคราะห์อภิมาน : หลักการและแนวปฏิบัติ (Meta analysis : Principle and Practice),” วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 11 (2548), 25-42.
นงลักษณ์ วิรัชชัย, “การเชื่อมโยงองค์ความรู้จากการวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน,” วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (2545), 296-322.
นิติบดี ศุขเจริญ และวัยวุฑฒิ อยู่ในศิล, “การวิเคราะห์อภิมาน และการสังเคราะห์อภิมาน,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (2557), 43-46.
พงศกร ศรีรงค์ทอง, “ความหลากหลายของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่กับแนวโน้มการจัดการภาครัฐในอนาคต,” ปีที่ 26, ฉบับที่ 1 (2563), 31-44.
Massachusetts Institute of Technology, “Master of Science in Political Science (SM),” Polisci.Mit.Edu (Website), https://polisci.mit.edu/graduate/masters (Retrieved March 21, 2023).
Qstopuniversities, “QS World University Rankings by Subject: Methodology,” Topuniversities (Website), https://www.topuniversities.com/subject-rankings/methodology (Retrieved March 21, 2023).
Harvard Kennedy School, “Curriculum,” Hks.Harvard.Edu (Website), https://www.hks.harvard.edu/educational-programs/masters-programs/master-public-administration/curriculum
The London School of Economics and Political Science, “Master of Public Administration,” LSE.AC.UK (Website), https://www.lse.ac.uk/school-of-public-policy/MPA (Retrieved March 21, 2023).
University of Oxford, “Master of Public Policy (MPP),” OX.AC.UK (Website), https://www.ox.ac.uk/admissions/graduate/courses/master-public-policy (Retrieved March 21, 2023).
University of Cambridge, “Department of Politics and International Studies (POLIS),” POLIS.CAM.AC.UK (Website), https://www.polis.cam.ac.uk/study-at-polis/graduates/MPhilPP/mpp-structure (Retrieved March 21, 2023).