ทบทวนเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจีนและการลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสของปรีดี พนมยงค์ (1948-1970) ผ่าน “เอกสารปรีดี” ที่หอจดหมายเหตุกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในบรรดางานศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวกับปรีดี พยมยงค์ อาจจะพูดได้ว่าช่วงชีวิตของปรีดีที่ยาวนานถึง 21 ปีในจีนตั้งแต่ 1948-1970 ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการศึกษาน้อยที่สุด งานที่ผ่านมาเกี่ยวกับปรีดีในจีนจึงมีข้อจำกัดอยู่มาก เช่น มักจะให้ภาพของปรีดีที่หยุดนิ่ง ตายตัว โดยเฉพาะการเน้นย้ำว่าปรีดีไม่เป็นคอมมิวนิสต์ ในขณะที่หลายชิ้นก็ให้ข้อมูลที่ผิดในเชิงข้อเท็จจริง หรือแม้จะถูกต้องก็อาจจะถูกแค่บางส่วน โดยไม่ช่วยให้เราเข้าใจปรีดีหรือสถานการณ์ในขณะนั้นมากนัก อย่างไรก็ตาม ในทิศทางที่สวนทางกับงานศึกษาเรื่องปรีดีที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาดังกล่าว ช่วงเวลาที่ปรีดีอยู่ที่จีนนั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความแหลมคมของสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ กล่าวคือ ปรีดีผ่านช่วงสงครามเกาหลี การรัฐประหารของสฤษดิ์ สงครามเวียดนาม การเริ่มต้นต่อสู้โดยอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) การ “ก้าวกระโดดไกล” และการปฏิวัติวัฒนธรรม ขณะอยู่ในจีน
บทความชิ้นนี้ศึกษา “เอกสารปรีดี” ที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสรวบรวมไว้สองแฟ้ม ซึ่งครอบคลุมช่วง 1965-1972 และนำเสนอเนื้อหาสำคัญของเอกสาร เพื่อชี้ให้เห็นว่าหากวิเคราะห์ ตีความ และเทียบเคียงกับเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลี้ภัยของปรีดีในจีนแล้ว เราจะพอประมวลภาพความซับซ้อนของปรีดีในฐานะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศจีนช่วง 1948-1970 ได้ โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวออกเป็นสามช่วงย่อย ซึ่งสัมพันธ์กับสถานการณ์ในไทย ในจีนและสถานการณ์ระหว่างประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anusorn Chinvanno, Thailand’s Policies towards China, 1949-54, (London: Palgrave Macmillan, 1992).
Christopher Andrew and Vassili Mitrokhine, The Sword and the Shield: The Mitrokhin Archive and the Secret History of the KGB, (New York, Basic Books, 2001).
Chris Baker and Pasuk Phongpaichit, A History of Thailand, 3rd ed. (Singapore: Cambridge University Press, 2014).
Pridi Banomyong, Ma vie mouvementée et mes 21 ans d'exil en Chine Populaire, (Paris: Varap, 1972).
Sulak Sivaraksa, Powers That Be: Pridi Banomyong through the rise and fall of Thai democracy, (Bangkok: Ruankaew Printing House, 1999).
Tim Harper, Underground Asia: Global Revolutionaries and the Assault on Empire, (UK: Penguin Random House, 2020).
Vichitvong Na Pombhejara, Pridi Banomyong and the Making of Thailand's Modern History, (Bangkok: Ruankaew Printing House, 1983).
กลุ่มเพื่อนสปท., ที่นี่…สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย, (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2565).
ดุษฎี พนมยงค์, ปรีดี พนมยงค์ กับชีวิต 21 ปีในจีน, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2555).
ทิพวรรณ เจียมธีรสกุล, ปฐมทรรศน์ทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2544).
พูนศุข พนมยงค์, ไม่ขอรับเกียรติใดๆ ทั้งสิ้น 95 ปี 4 เดือน 9 วัน พูนศุข พนมยงค์, (กรุงเทพฯ: สายส่งสุขภาพใจ, 2551).
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง, (กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก, 2544).
สุพจน์ ด่านตระกูล, ชีวิตและงานของ ดร. ปรีดี พนมยงค์, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์, 2514).
ไสว สุทธิพิทักษ์, ดร. ปรีดี พนมยงค์, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2526).
Dominique Bari, "1964 : Quand la France reconnaissait la Chine populaire," Recherches Internationales, No. 99 (avril-juin 2014), 139-153.
เขียน ธีระวิทย์, “จีนกับขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย,” วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 11, ฉบับที่ 4 (ตุลาคม 2517), 18-36.
ปรีดา ข้าวบ่อ, “ศุขปรีดา พนมยงค์ กับงานเขียนถึงผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน,” ใน จีรวรรณ พนมยงค์, ฉัตรชัย วรดิลก, ปรีดี ข้าวบ่อ, และธารา ศรีอนุรักษ์ (บก.), มิตรภาพและน้ำใจ แด่ ศุขปรีดา พนมยงค์, (กรุงเทพฯ: ชนนิยม, 2554), 33-37.
วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์, "19. จดหมายจากกว่างโจ๊ว," ใน กษิดิศ อนันทนาธร (บก.), อนุสรณ์ วาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์, (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2562), 290-293.
ศุขปรีดา พนมยงค์, "ชีวิตของท่านปรีดี พนมยงค์ ในประเทศจีน พ.ศ. 2492-2513,” ใน สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ และคณะ (บก.), หนังสือที่ระลึก วันปรีดี พนมยงค์, (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 11 พฤษภาคม 2534), 45-55.
“ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์,” สารคดี, ปีที่ 16, ฉบับที่ 182 (2543) https://www.sarakadee.com/2019/03/27/ท่านผู้หญิงพูนศุข-พนมยง/ (สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2567).
“นายปรีดีในต่างแดน,” สารคดี, ปีที่ 16, ฉบับที่ 182 (2543) https://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-a-displaced/ (สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2567).
ดิน บัวแดง, "ว่าด้วย 'เอกสารปรีดี' ที่ชานกรุงปารีส: การลี้ภัยของปรีดีจากจีนสู่ฝรั่งเศส”, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เว็บไซต์), https://hist.human.cmu.ac.th/node/243, (สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567).
สถาบันปรีดี พนมยงค์, "งานเขียนของปรีดี (บรรณานุกรม)," สถาบันปรีดี พนมยงค์ (เว็บไซต์), https://pridi.or.th/th/libraries/writing (สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2566).
สถาบันปรีดี พนมยงค์, "สัมภาษณ์ ศุขปรีดา พนมยงค์ (บทสัมภาษณ์ ศุขปรีดา พนมยงค์ ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ดำเนินรายการโดย คำนูณ สิทธิสมาน และ ขุนทอง ลอเสรีวานิช," สถาบันปรีดี พนมยงค์ (เว็บไซต์), https://pridi.or.th/th/content/2020/05/265 (สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2566).
สุทธิชัย หยุ่น, "บทสนทนาที่ปักกิ่งวันนั้น กับ 'สุชาติ ภูมิบริรักษ์'," มติชนสุดสัปดาห์ (เว็บไซต์), https://www.matichonweekly.com/column/article_274978 (สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2566).
เสมียนอารีย์, “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ขอปฏิเสธ! ‘ข้าพเจ้าไม่ใช่คอมมูนิสต์’,” ศิลปวัฒนธรรม (เว็บไซต์), https://www.silpa-mag.com/history/article_28640 (สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567).
Affaires étrangères, MAE)
QO/100, Personnalités politiques (1956-1967)
QO/158, Thaïlandais en France - question du réfuge en France de l'ancien premier ministre libéral Pridi Panomyong (1958-1967)
QO/215, Dossier de Pridi (1968-1972)
Somsak Jeamteerasakul, The communist movement in Thailand, (PhD Thesis, School of Social Sciences, Monash University, 1993).
ณัฐพล ใจจริง, การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500), (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552).