ผลการใช้ชุดการเรียนการสอนจริยธรรมเชิงบูรณาการในรายวิชา การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2012.96112Abstract
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่านิยมทางจริยธรรมของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนการสอนจริยธรรมเชิงบูรณาการ และเปรียบเทียบบรรยากาศในการเรียนการสอนทั้งระยะเสันฐาน ระยะทดลองสอน และระยะติดตามผลของการใช้ชุดการเรียนการสอนจริยธรรมเชิงบูรณาการ รวมทั้งเพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนต่อชุดการเรียนการสอนจริยธรรมเชิงบูรณาการในรายวิชา การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมตามรูปแบบเสริมสร้าง เจตคติและปัญญาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จากนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม แล้วทำการสุ่มให้ ห้องเรียนที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีจำนวน 31 คน และให้ห้องเรียนที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาการตลาดจำนวน 38 คนรวมจำนวนทั้งสิน 69 คน ทำการทดลองในคาบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการเรียนการสอนจริยธรรม แบบสังเกตบรรยากาศการเรียนการสอน แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียน แบบบันทึกพฤติกรรมผู้เรียน แบบวัดค่านิยมทางจริยธรรม และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้สอนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์หา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ทั้งก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนการสอนจริยธรรม โดยการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากใช้ชุดการเรียนการสอนจริยธรรมเชิงบูรณาการตามรูปแบบเสริมสร้างเจตคติและปัญญา นักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนค่านิยมทางจริยธรรม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและการใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาสูงขึ้น และนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนค่านิยมทางจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ค่าคะแนนเฉลี่ยด้านบรรยากาศการเรียนการสอนของผู้เรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะเสันฐาน ระยะทดลองและระยะติดตามผล ไม่แตกต่างกัน นอกจากน อาจารย์ผู้สอนที่ทดลองใช้ชุดการเรียนการสอนจริยธรรมฯ ในการวิจัยครั้งนี้ มีความเห็นว่า ภาพรวมของชุดการเรียนการสอนจริยธรรมฯ ที่พัฒนาขนมีความเหมาะสมค่อนข้างมากที่จะนำใช้จัดการเรียนการสอนจริยธรรมเชิงบูรณาการในรายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา
The Effects of Implementing the Moral Instructional Module Integrated in Quality of Life and Society Course for Higher Educational Students
The purposes of this experimental study were to compare the students’ moral value before and after using the moral instructional module, to compare the instructional atmosphere among baseline, treatment and follow up phrases of using the moral instructional module and to investigate the instructor’s opinion towards the moral instructional module integrated in Quality of Life and Society Course. The samples including the students in the experimental and controlled groups were 69 first-year undergraduates taking Quality of Life and Society Course in the first semester of the academic year 2011 at Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang Mai. The 31 accounting students in experimental group and the 38 marketing students in controlled group were tried out in the first semester of the 2011 academic year. The research instruments included moral instructional module, rating scale assessment, behavior checklists, moral value assessment forms and questionnaire for the instructor. The collected data were analyzed by calculating percentage, mean, standard deviation and t-test. The results of the study revealed that the 5 aspects of moral value; kindness, honesty, diligence, moral reasoning and solving intelligence, of the students’ in the experimental group were increased. In addition, the overall moral values of the stadents in the experimental group after using the moral instructional module were higher than those of the controlled group significantly at .01 level. However, the overall instructional atmosphere mean scores in the experimental group before treatment, during treatment and follow up phrases were not different from those of the control group. Besides, the instructor agreed that the moral instructional module was appropriate to implement in Quality of Life and Society Course for higher educational students at fairly high level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
1. Articles, information, content, images, etc published in the “Community and Social Development Journal” are copyrighted by the Community and Social Development Journal, Chiang Mai Rajabhat University. In order to properly distribute the articles through print and electronic media, the authors still hold the copyright for the published articles under the Creative Commons Attribution (CC BY) license, which allows the re-distribution of the articles in other sources. References must be made to the articles in the journal. The authors are responsible for requesting permission to reproduce copyrighted content from other sources.
2. The content of the articles appearing in the journal is the direct responsibility of the article authors. The editorial board of the journal does not necessarily agree with or share any responsibility.