การสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยใช้อัตลักษณ์ล้านนา
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2012.96119Keywords:
ลักษณะตัวละครการ์ตูน, แอนิเมชัน, อัตลักษณ์ล้านนา, Cartoon character, Animation, Lanna identityAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงพัฒนา การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยใช้อัตลักษณ์ล้านนา และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง การสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละคร การ์ตูนโดยใช้อัตลักษณ์ล้านนาใช้กระบวนการออกแบบลักษณะตัวละครจากภาพบุคคลในจิตรกรรมฝาผนัง วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ร่างภาพเชิงจิตรกรรมฝาผนังแล้วพัฒนาสัดส่วนองค์ประกอบทางกายภาพของตัวละครเป็นลักษณะตัวละครการ์ตูนที่มีอัตลักษณ์ล้านนาและมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปพัฒนาเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันได้ ประเมินประสิทธิภาพของลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาและด้านการพัฒนาสื่อ ประเมินความพึงพอใจในรูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าการผลิตการ์ตูนสร้างสรรค์รูปแบบลักษณะตัวละครการ์ตูนโดยใช้ อัตลักษณ์ล้านนามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก สามารถนำไปใช้ในภาพยนตร์แอนิเมชันได้ และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อลักษณะตัวละครการ์ตูนที่สร้างสรรค์โดยใช้อัตลักษณ์ล้านนาอยู่ในระดับดีมาก ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาลักษณะตัวละครการ์ตูนสู่ภาพยนตร์แอนิเมชันเพื่อนำเสนอ ความเป็นอัตลักษณ์ล้านนาต่อสังคมไทยผ่านสื่อที่มีความสากลต่อไป
Creation of Cartoon Character using Lanna Identity
The Mixed Method research consist of developmental research, qualitative research and experimental research aims to create cartoon character through Lanna identity and รณdy the satisfaction of a representative group. The creation of cartoon character using lanna identity has an inspiration from the characters on mural painting in Wihan lai come, Phra Sigha temple by drawing the original character and develops into capable Lanna characters which are able to expand to animation movie. These cartoon characters are evaluated by the experts in Lanna arts and evaluated the satisfaction by the representative stadents from Grade 6 stadents, Rajabhat Chiang Mai University Demonstration School. The statistics are analyzed by percentage and standard deviation.
The research result finds that the creation of cartoon character using Lamia identity has high efficiency which is able to develop in to animation movie. The representative group is extremely satisfy to the characters which created through Lanna identity. Therefore, Lanna cartoon characters should be developed to animation movie to present Lanna identity to international media.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
1. Articles, information, content, images, etc published in the “Community and Social Development Journal” are copyrighted by the Community and Social Development Journal, Chiang Mai Rajabhat University. In order to properly distribute the articles through print and electronic media, the authors still hold the copyright for the published articles under the Creative Commons Attribution (CC BY) license, which allows the re-distribution of the articles in other sources. References must be made to the articles in the journal. The authors are responsible for requesting permission to reproduce copyrighted content from other sources.
2. The content of the articles appearing in the journal is the direct responsibility of the article authors. The editorial board of the journal does not necessarily agree with or share any responsibility.