การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา: กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป๋าซาง จังหวัดลำพูน

Authors

  • มานพ ชุ่มอุ่น สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2012.96122

Abstract

แผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจชุมชนอย่างบูรณาการในด้านการผลิต การตลาด เงินทุน และการบริหารจัดการกลุ่ม และเพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพการบริหารจัดการ กลุ่มผ้าฝืายทอมือบ้านดอนหลวงแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย (1) ด้าน การพัฒนากระบวนการจัดการทางการตลาด พบว่า กลุ่มควรขยายตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวสถานศึกษา โรงแรม และร้านอาหาร กำหนดจุดขายเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าฝืายทอมือแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งราคาขายที่สัมพันธ์กับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์จัดทำสปอตโฆษณาผ่านวิทยุชุมชน และการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ ควรเพิ่มพนักงานขายแสวงหาคำสั่งซื้อ และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์สินค้า และใช้การตลาดทางตรงสร้างลูกค้าใหม่ๆ และรักษาลูกค้าเดิม (2) ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต พบว่า การตั้งราคาขายและผลตอบแทน ส่วนใหญ่ร้อยละของผลตอบแทนจากการขายส่ง จะตรกว่าร้อยละ 10 ถึง 7 รายการ จาก 12 รายการที่ผลิตและระหว่างร้อยละ 10.0-20.0 จำนวน 4 รายการ โดยมีเพียง 1 รายการผลิตเท่านั้น ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 20.0 ส่วนป้ญหาสำคัญที่เกิดจากการผลิต คือ ป้ญหาการขาดผู้สืบทอดการทอผ้าฝืายราคาวัตถุดิบสูง ขาดช่างแมือ ขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขาดเทคโนโลยี ที่จะใช้ในการผลิตและการออกแบบ (3) ด้านความต้องการทางการเงินและแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะใช้เงินทุนส่วนตัวในการผลิต แต่มีบางส่วนที่ใช้บริการจากสถาบันการเงินของรัฐ ส่วนป้ญหาสำคัญที่เกิดขนจากการใช้แหล่งเงินทุน คือ ขาดหลักทรัพย์คาประกันวงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสูง และยังขาดความรู้ในการขอถู้ยืมเงิน โดยวัตถุประสงค์การขอสินเชื่อก็เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบและนำมาใช้จ่ายเป็นค่าจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการถู้ยืมจากสถาบันการเงินของรัฐและมีความต้องการที่จะกู้ยืมเงินในระยะเวลาปานกลาง ระยะสน และระยะยาวในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันและ (4) ด้านการบริหารจัดการกล่ม พบว่า กล่มเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2525 โดยมีสมาชิก 10 คน จนเมื่อปี 2535 ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวงขึ้น และได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่นในปี 2542 ต่อมาในปี 2543 ได้ก่อสร้างศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยมีประธานกลุ่มทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลศูนย์เป็นหลัก และหากมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าประธานกลุ่มจะเป็นผู้แจกจ่ายงานให้กับสมาชิกตามความถนัดของแต่ละคน กลุ่มมีการจัดแบ่งโครงสร้างองค์กรตามหน้าที่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายการผลิต และ ฝ่ายการตลาด แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มยังไม่มีการติดตามและควบคุมผล การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมมากนัก และการบริหารงานกลุ่มงานส่วนใหญ่จะมีประธานกลุ่มทำแต่เพียงผู้เดียว

บทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่สมบูรณ์

Downloads

How to Cite

ชุ่มอุ่น ม. (2012). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา: กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป๋าซาง จังหวัดลำพูน. Community and Social Development Journal, 13(2), 155–168. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2012.96122

Issue

Section

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)