การศึกษาสภาวะการดำเนินงานของเมืองน่าอยู่เทศบาลตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2012.96124Abstract
การศึกษาสภาวะการดำเนินงานของเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพของเทศบาลตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นสมาชิกสภาเทศบาล และผู้นำชุมชนของเทศบาลตำบลแม่ริม และการประชาคมผู้นำชุมชนพร้อมทั้งผู้แทนภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 71 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก(Indepth interview) ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำ และการประชาสังคม ประกอบด้วยประเด็นต่างๆ ดังนี้ นโยบายและแผนการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ด้านบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพการบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย หรือผู้นำชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อตีความให้ความหมาย เพื่ออธิบายลักษณะการดำเนินงาน โดยแยกตามประเด็นที่ศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลแม่ริม ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ เป็นอันดับแรก มีการกำหนดนโยบายเมืองน่าอยู่ไว้ในวิสัยทัศน์ มีแผนงานโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชุมชนมีส่วนร่วม บุคลากรผู้รับผิดชอบรับทราบนโยบายดังกล่าวและให้ความสำคัญระดับปานกลาง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายของเทศบาล องค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เทศบาลได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานเมืองน่าอยู่จาก ทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี เทศบาลมีโครงการไปทัศนศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเมืองน่าอยู่ของเทศบาลอื่นๆ มีการกำกับติดตามประเมินผลและสรุปรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานให้แก่ชุมชนทราบเป็นระยะๆ และร่วมกับชุมชนในการวางแผนแก้ไขป้ญหาอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพได้ ด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพของเทศบาลตำบลแม่ริม พบว่า การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ด้านสุขภาพยังขาดความต่อเนื่อง และช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมีน้อย นอกจากนี้ ยังพบว่าเทศบาลตำบลแม่ริมยังขาดความชัดเจนของตัวชี้วัดในเรื่องของเมืองน่าอยู่ด้านอื่นๆ เช่น การจัดการด้านสาธารณูปโภค พบว่าบางจุดที่ต้องแก้ไข เช่น นาประปา นาเสีย ขยะ ร้านอาหาร ตลาด เป็นต้น ผู้วิจัย มีความเห็นว่าควรมีการบูรณาการนโยบายเมืองน่าอยู่กับทุกหน่วยงานของเทศบาลเพื่อให้โครงการเมืองน่าอยู่ ได้มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทุกด้าน และบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
A Study on the Implemention of Healthy City Condition of Maerim Municipality, Maerim District, Chiangmai Province.
A Study on the Implemention of Healthy City Condition of Maerim Municipality, Maerim District, Chiangmai Province. This research aimed to study the implementation of healthy city condition of Maerim Municipality, Maerim District, Chiangmai province. By researching the subject using, Documentary analysis and from in-depth interviews from Management Group, Alderman Maerim district of the municipality and community leaders and representatives of the Parties involved.
The results showed that Maerim municipality had the policy in the vision and had high priority Maerim municipality's personnel a knowledge policy and the importance at the medium. Level. The city had the committee on health, network of local partners, including organizations and agencies that had good relationships and cooperation in the city. The city planned to have community involvement. Plan field trips to see the operation of other municipalities. To share and learn, and evaluation to report the progress and planning issues, and keep the community informed as well. The performance of livable cities in the area of MaeRim municipality, achieve the good level. There should be a separate study in each issue, research should have been conducted to evaluate the cost-effectiveness and report findings to the community, get involved and comment. Should focus on the nature of the leaders in the community, enforce the laws, and measure of the city to control, supervise, monitor and evaluate to be effective.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
1. Articles, information, content, images, etc published in the “Community and Social Development Journal” are copyrighted by the Community and Social Development Journal, Chiang Mai Rajabhat University. In order to properly distribute the articles through print and electronic media, the authors still hold the copyright for the published articles under the Creative Commons Attribution (CC BY) license, which allows the re-distribution of the articles in other sources. References must be made to the articles in the journal. The authors are responsible for requesting permission to reproduce copyrighted content from other sources.
2. The content of the articles appearing in the journal is the direct responsibility of the article authors. The editorial board of the journal does not necessarily agree with or share any responsibility.