สภาพและความต้องการการออกกำลังกาย ของผู้พิการทางกายในจังหวัดนนทบุรี พ.ค.2554
DOI:
https://doi.org/10.14456/rcmrj.2013.96146Keywords:
สภาพ, ปัญหา, ความต้องการ, การออกกำลังกาย, ผู้พิการทางกาย, จังหวัดนนทบุรี, States, Problems, Needs, Exercise, Physical Disabled, Nonthaburi provinceAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการการออกกำลังกายของผู้พิการทางกายในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554 กลุ่มตัวอย่างที่ใขในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้พิการทางกายเฉพาะผู้พิการที่ใซ้รถวีลแชร์ จำนวน 335 คน จำแนกเป็น เพศขาย 162 คน เพศหญิง 173 คน ได้มาจากการลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์สภาพการออกกำลังกายของผู้พิการทางกาย และแบบสอบถามปัญหาและความต้องการการออกกำลังกายของผู้พิการทางกาย ที่ผู้วิจัยสร้างฃึ้นมืค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการออกกำลังกายของผู้พิการทางกายในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554 โดยรวม ผู้พิการส่วนใหญ่จะเลือกออกกำลังกายตามสภาพร่างกายของตนเอง มีการจัดสถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้พิการ มีการส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย โดยมีครูและเจ้าหน้าที่แนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้พิการ ตลอดจนมีนักกีฬารุ่นพี่คอยแนะนำวิธีการออกกำลังกายให้กับรุ่นน้อง สำหรับผู้พิการที่ต้องการเล่นกีฬาเพี่อการแข่งขันจะมีผู้ฝืกสอนรวมถึงมีการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาต่างๆ อีกทั้งมีนโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้พิการได้ออกกำลังกาย โดยได้มีการจัดกิจกรรมกีฬา กีฬาสี เป็นประจำ รวมถึงการสร้างเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้านเพี่อให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ
2. สภาพปัญหาการออกกำลังกายของผู้พิการทางกายในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554 โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 42.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านบริหารจัดการ และด้านปัญหาส่วนตัวของผู้พิการ ส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 39.04, 41.88, 49.58 และ 37.52 ตามลำดับ
3. ด้านความต้องการการออกกำลังกายของผู้พิการทางกายในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554 โดยรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 38.76 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสถานที่อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านบริหารจัดการ ส่วนใหญ่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 41.01, 38.90 และ 36.36 ตามลำดับ
4. ประเภทของกิจกรรมและกีฬาที่ผู้พิการทางกายในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554 โดยรวมมีความต้องการออกกำลังกายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กีฬาว่ายนํ้า กีฬาบอคเชีย และกีฬาเปตอง คิดเป็น ร้อยละ 47.46, 37.31 และ 22.09 ตามลำดับ
STATES, PROBLEMS AND NEEDS FOR EXERCISE OF THE PHYSICAL DISABLED AT NONTABURI PROVINCE IN 2011
This study intended to investigate the states, problems and needs for exercise of the physical disabled in Nontaburi Provice, in 2011. The 335 physical disableds, 162 males and 173 females were involved in this study. The data were collected by an interview and the writer’s constructed questionnaire, r = .91. The data were analyzed in terms of frequency and percentage. The results were presented with table and description.
The findings were as follows:
1. The disabled, in total, decided to take the exercise according to their physical states. They were provided with proper places, supports and knowledge in exercise. They were attended by teachers, officers and senior athletes. For those who wished to play sports for competition, they were provided with sport trainers and opportunities to participate in tournaments. They were also encouraged to take regular exercise for their proper development.
2. As a whole, the exercise problems were low, 42.01%. However, when considered by item of facilities, servicing personnel, administration, and personal problems, it was found that all were rated at a low level, 39.04%, 41.88%, 49.58% and 37.52%, respectively.
3. As a whole, the needs for exercise were rated at a high level, 38.76%. The same level of needs which was rated when considered by items of facilities, servicing personnel and administration, 41.01%, 38.90% and 36.36% respectively.
4. The disable rated their favorite exercise activities from top to bottom as follows: Swimming, Boccia and Petangue, 47.46%, 37.31% and 22.09% respectively.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
1. Articles, information, content, images, etc. that are published in "Chiang Mai Rajabhat Research Journal" is the copyright of Chiang Mai Rajabhat Research Journal. Chiang Mai Rajabhat University. If any person or organization wants to distribute all or any part of it or do any action Must have written permission from the Chiang Mai Rajabhat Research Journal, Chiang Mai Rajabhat University.
2. Content of articles appearing in the journal is the responsibility of the author of the article. The journal editor is not required to agree or take any responsibility.