การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน

Authors

  • พิชัยณรงค์ กงแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราซภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2014.96161

Keywords:

การจัดการกีฬา, การออกกำลังกาย, องค์การบริหารส่วนตำบล, ผู้สูงอายุ, Sport Management, Exercise, Subdistrict Administrative Organizations, Elderly

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนบน และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผ้สงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน และ 3) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน

การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลรูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการประเมิน โดยองค์การบริหารส่วนตำบล

ผลการวิจัยปรากฏผล ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพ พบว่า การจัดการกีฬาและการออกกำลังกายโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนบน โดยรวมและรายด้านมีสภาพในระดับปานกลาง ซึ่งสภาพที่มีการจัดการสูงที่สุด คือ องค์การบริหารส่วนตำบล มีกิจกรรมหรือโครงการในการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ รองลงมาระดับมาก คือ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

2. ผลการพัฒนา พบว่า มี 5 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า (6 M-IT) กระบวนการ (POLKACIR) ผลผลิต ผลลัพธ์ และข้อมูลย้อนกลับ และตรวจสอบรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและความถูกต้องครอบคลุม อยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก

THE DEVELOPMENT A SPORT AND EXERCISE MANAGEMENT MODEL BY SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS FOR ELDERS OPERATED IN THE UPPER NORTH

The main objective of this research is to development a sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North, There are three specific objectives; 1) to investigate the current situations of sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North, 2) to development a sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North, 3) to evaluate the sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North.

The research followed three steps: step 1. Investigate the current situations of sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North, using document research, interview and survey method, step 2. development a sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North by drafting and testing by focus group discussion the model, step 3. Evaluating the sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North by evaluation conducted by each Subdistrict Administrative Organization.

The research results are as follows:

1. The study current situations showed that the overall of sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North were moderate. The highest indicated the fact that the Subdistrict Administrative Organizations had sport and exercise projects for elders. The second showed that the Subdistrict Administrative Organizations monitored and evaluated their operational plans based on their defined standards.

2. The development and testing of the model showed that the 5 components are input (6 M-IT), process (POLKACIR), Output, Outcome and Feedback. The model was propriety and accuracy at the high

3. The evaluation of sport and exercise management model by Subdistrict Administrative Organizations for elders operated in the Upper North showed high feasibility and utility.

Downloads

How to Cite

กงแก้ว พ. (2014). การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน. Community and Social Development Journal, 15(1), 15–26. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2014.96161

Issue

Section

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)