การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน

Authors

  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ดารารัตน์ จำเกิด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2014.96180

Keywords:

แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม, Health Promotion Model, Elderly, Participation

Abstract

การวิจัยฉบับนี้เป็นการพัฒนาแนวการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบนฐานการมีส่วนร่วมอันจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติร่วมกันของชุมชน สุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเขียงใหม่ จำนวน 293 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเซิงพรรณนาและสัมประสิทธิ้สหสัมพันธ์ ข้อมูลเซิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมเพื่อสร้างพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมืนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.421, p=0.002)ส่วนแนวทางการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพในผู้สูงอายุพบว่า ควรเริ่มต้นจากการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองการฝึกปฏิบัติพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และการบูรณาการแนวทางการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเช้ากับวิถีการดำเนินชีวิต ตามลำดับ

DEVELOPMENT FOR HEALTH PROMOTION MODEL IN ELDERLY BASED ON COMMUNITY PARTICIPATION

The objectives of this study were to development for health promotion model in elderly based on community participation. A total of 293 participants were sampling from elderly in Suthep Municipality Muang District, Chiang Mai Province. Data were collected using questionnaire, Focus group and in-depth interviews. Quantitative data were analyzed using descriptive statistic and Pearson Correlation Coefficient and qualitative data using content analysis.

The results showed that consisted were positive significant relationship between needs of social support and health promoting behaviors (r=0.421, p=0.002). The guidelines for the health promotion model in elderly found that first the perception of their health, practice healthy habits, workshops were to increase knowledge of health and integrated approach to promoting healthy behaviors in lifestyle.

Downloads

How to Cite

ใจเตี้ย ส., & จำเกิด ด. (2014). การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน. Community and Social Development Journal, 15(2), 37–45. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2014.96180

Issue

Section

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)