แนวทางการอนุรักษ์วัฒนรรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ธนพชร นุตสาระ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2014.96184

Keywords:

ดนตรีพื้นบ้าน, มานุษยวิทยาดนตรี, มานุษยวิทยา, ดนตรีกะเหรี่ยง, ดนตรีชาติพันธุ์, Folk Music, Ethnomusicology, Anthropology, Music Karen, Ethnic Music

Abstract

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิจัยทางด้านมาบุษยวิทยาดนตรี (Anthropology of Music) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาองค์ความรู้วัฒนธรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาแนวทางการปรับประยุกต์วัฒนธรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยว ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้จะเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา วิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะทางกายภาพของเตหน่ากูจะมีกล่องเสียงรูปร่างคล้ายเรือ มีคอโค้งงอยื่นออกจากกล่องเสียงฝาปิดด้านหน้าจะใข้แผ่นอลูมิเนียม ลูกปิดทำจากไม้ไผ่ ขึ้นสายด้วยสายเบรกรถจักรยาน ระหว่างลูกปิดกับแกนกลางแผ่นฝาที่ปิดกล่องเสียงมีสายจำนวนตั้งแต่ 6-12 สาย ตั้งสายด้วยระบบบันไดเสียงเพนตาโทนิก เมเจอร์ และเพนตาโทนิก ไมเนอร์การบรรเลงโดยการดีดสายมือซ้ายทำหน้าที่เป็นเสียงเบสหรือเสียงประสาน รวมทั้งเสียงโดรน (Drone) ส่วนมือขวาดีดเป็นทำนอง บรรเลงประกอบการอื่อธาหรือบทเพลงทั่วไป

ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยงนั้น สำหรับโรงเรียนควรให้เครื่องดนตรีเตหน่ากู ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรดนตรีห้องถิ่น หน่วยงานรัฐควรจัดกิจกรรมส่งเสริมเพื่อให้เครื่องดนตรีเตหน่ากู มีเวทีสำหรับการแสดง รวมทั้งวัดเมื่อมีงานประเพณีควรให้มืเครื่องดนตรีเตหน่ากูมีบทบาทหน้าที่ในงานประเพณีนั้นๆ เพื่อให้ซาวปกาเกอะญอเห็นคุณค่าในตัวดนตรี

ในด้านการปรับประยุกต์วัฒนธรรมดนตรีของซาวกะเหรี่ยงเข้าสู่การท่องเที่ยว เนื่องจากตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจุดขายทางด้านธรรมซาติและวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง ชุมชนควรมีความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ หน่วยงานรัฐ และโรงเรียน ทั้งสามที่จะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เครื่องดนตรีเตหน่ากูมีเวทีสำหรับการแสดงในฐานะเครื่องดนตรีชาติพันธุของชาวกะเหรี่ยงที่มืศักยภาพเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ รวมทั้งเพื่อให้เยาวซน เห็นคุณค่าของเครื่องดนตรีประจำซาติพันธุของตนเอง

THE CONSERVATIVE APPROACH THE TE-HNA-KU MUSIC CULTURE OF KAREN, BAN CHAN SUB-DISTRICT, KANLAYANI WATTHANA DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE

The research on The Conservative Approach the Te-hna-ku Music Cultural of Karen. This research focuses on the study of: 1) the Te-hna-ku music cultural knowledge of the Karen 2) the process of conserving the Te-hna-ku music culture of the Karen 3) the process of applying the Te-hna-ku music to the tourism at Ban Chan, Kanlayani Watthana District, Chiang Mai Province. This research involving a qualitative and an anthropology of music method has thrown up the following significant results;

The collected data from the documents, the interview and using participatory observation shows that the physical appearance of Te-hna-ku has the resonance box like a boat, the neck bend to protrude from the sound box. The front of the resonance box is covered with the aluminium pad. The tuning pegs are made from the bamboo stretched between tuning pegs and the lid of the sound box by the bicycle break cables. The Te-hna-ku has 6-10 strings and using the major and minor pentatonic scales. Te-hna-ku is played by both hands: that is the right hand plays the melody or chord and the left hand plays bass or harmony and drone. Te-hna-ku is played accompanying the Aeu-Ta or other songs.

According to the musical culture conservation of the Karen, the school should contain the Te-hna-ku in the folk music curriculum, and the government or the public agencies should promote the Te-hna-ku shows in any public activities, including the temple fairs or the traditional activities in order to make the Pgazkoenyau or the Karen people realize the value of the musical culture and conserve it.

For the application of the Te-hna-ku for to the tourism, it is found that Ban Chan, Kanlayani Watthana District is one of the natural tourist attractions and also the Karen culture, so the cooperation between the community, the government, the private agencies and the three community schools should created to support the activities in promoting the music culture and to give opportunity to the Te-hna-ku shows as the potential Karen ethnic music. Moreover, it is important to make the young Karen absorb the value of their owned ethnic musical culture and conserve.

Downloads

How to Cite

นุตสาระ ธ. (2014). แนวทางการอนุรักษ์วัฒนรรรมดนตรีเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. Community and Social Development Journal, 15(2), 83–99. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2014.96184

Issue

Section

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)