การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความสนใจทางการเรียน โดยใช้เทคนิคผู้เรียนประเมินตนเอง Develop Academic Achievement and Attention among Students Using Self-Assessment

Main Article Content

ดร. ศุภชัย เหมือนโพธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความสนใจทางการเรียน โดยใช้เทคนิคผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถที่นิสิตมีอยู่ และนำผลประเมินก่อนเรียนมาปรับปรุงพัฒนาตนเอง ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และความสนใจทางการเรียน กรณีศึกษานิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาการตลาด ที่เรียนในรายวิชา 03758111 หลักการตลาด (principles   of marketing) หมู่เรียน 700 ในภาคต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 44 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ    (1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนิสิตในรายวิชาหลักการตลาดและ (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และความสนใจทางการเรียน โดยใช้เทคนิคผู้เรียนประเมินตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน รายวิชาหลักการตลาด เรื่องส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) จำนวน 4 บทเรียน และ (2) เอกสารประกอบการสอน เทคนิคผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถที่นิสิตมีอยู่ และนำผลประเมินก่อนเรียนมาปรับปรุงพัฒนาตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 


1) นิสิตที่เรียนในรายวิชา 03758111 หลักการตลาด (principles of marketing) หมู่เรียน 700 ในภาคต้น ปีการศึกษา 2559 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 และเป็นเพศชายจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18


2) การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีความสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับผู้สอนในการจัด การเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ภายหลังจากที่นิสิตได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผู้เรียนประเมินตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาการตลาดที่เรียนในรายวิชา 03758111 หลักการตลาด (Principles of Marketing) หมู่เรียน 700 ในภาคต้น ปีการศึกษา 2559 ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคผู้เรียนประเมินตนเอง เรื่อง ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมทางการตลาด มีผลการทดสอบหลังเรียนที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดสอบก่อนเรียน


Abstract


This study was to develop academic achievement and attention among students using self-assessment form to determine knowledge and skills in the students and to use the results to improve the students themselves in terms of their academic achievement and attention. This study which was conducted among 44 students in the Faculty of Liberal Arts and Science in the subject of 03758111: Principles of Marketing, section 700 in the first semester, academic year 2016 was aimed to (1) to compare the students’ academic achievements before and after studying the  Principles  of  Marketing,  and  (2) to  study  the  academic  achievement and attention.  The instruments were (1) a pretest and a posttest of 4 lessons on the Marketing Mix in the subject: Principles of Marketing, and (2) a teaching document on self-assessment technique to determine knowledge  and  skills in the students and to use the self-assessment results  to  improve  the  students 


themselves. The results were as follows:


1) The students in the subject of 03758111: Principles of Marketing, section 700 in the first semester, academic year 2016 were 36 females or 81.82 % and 8 males and 8 males 18.18 %.


2)         Evaluation on learning development is significant and necessary for lecturers to improve curriculum to be effective and efficient as much as possible. After having learned the self-assessment technique and known the knowledge and skills in themselves, the students’ academic achievements in the subject of 03758111: Principles of Marketing, section 700 in the first semester, academic year 2016 on products, prices, distribution channels and marketing promotion increased as compared to the students’ academic achievements before learning. Therefore, testing before and after studying allowed the students to know their own potential and efficiency so that they themselves could assess their own knowledge and skills. Moreover, the test results motivated them to set up their learning goals, to pay more attention to learning and to properly solve their own learning problems; these also allowed the lecturer to know the students’ basic problems and to take these problems as bases for teaching improvement.

Article Details

บท
บทความวิจัย