อิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า Buddha’s Miracles

Main Article Content

ดร. นฤมล มารคแมน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความนี้ไม่ได้มุ่งประเด็นว่า ปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่ และไม่ใช่ประเด็นถกเถียงว่า ในพุทธประวัตินั้น เรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ จุดมุ่งหมายของบทความนี้ เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์และผลในการแสดงฤทธิ์หรือแสดงปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า การศึกษานี้จำกัดขอบเขตในพุทธประวัติ จึงศึกษา ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพุทธประวัติอันประกอบไปด้วยเรื่องราวปาฏิหาริย์มากมาย มีเรื่องเหนือธรรมชาติปรากฏอยู่ตลอด


          จากการศึกษาพบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์บ่อยครั้งด้วยเหตุผลต่าง ๆ หลายประการ เช่น เพื่อรักษาศรัทธาของทายก (หรือผู้ทำทาน) และเพื่อขจัดความสงสัยของเหล่าเทวดาที่มีต่อความสามารถพิเศษของพระพุทธองค์ นอกจากนั้น พระพุทธองค์มักทรงแสดงปาฏิหาริย์เพื่อนำไปสู่การสอนธรรมะ ทั้งยังทรงแสดงเพื่อข่มเดียรถีย์ที่สอนในสิ่งผิด เพื่อให้กลับใจมา   เป็นสัมมาทิฐิ อย่างไรก็ตาม จะต้องเน้นว่า ปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเจริญกรรมฐาน ไม่สามารถปลดเปลื้องกิเลสที่ร้อยรัดได้เด็ดขาด อีกทั้งมิใช่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา อิทธิปาฏิหาริย์นั้น ไม่มีคุณค่าในตนเอง เป็นเพียงเครื่องมือหรือวิถีที่นำไปให้เข้าถึงสิ่งที่มีค่ามากกว่า นั่นคือ พระนิพพาน


            โดยสรุป วัตถุประสงค์หลักของพระพุทธองค์ในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น เพื่อที่จะปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง


Abstract


Neither concentrates on the plausibility of miracle power nor argues whether marvelous events in the Buddha 's life did really take place, this article aims to explore the Buddha 's purposes and results for miracle performances. As the exploration is in the realm of the Buddha’s life, it is inevitable to examine Pathomsombhodigatha  which is a bibliography of the Buddha that consists of numerous miracles and supernatural issues throughout the story.


The study indicates that the Buddha demonstrated miraculous powers frequently with various purposes. For instance; to retain the donor's faith in merit making and to dispel deities'doubt on his special abilities. Furthermore, he usually performed miracles in order to pave way to Dharma teachings as well as to demonstrate his superiority to opponents of false teachings in order to win converts. However, it is to emphasize that miracle, a by-product of meditative knowledge, cannot entirely liberates one from bondage, and it is not the ultimate goal of Buddhism. Miracle itself has no intrinsic value; on the contrary, it is merely an instrument or means to the attainment of the more valuable thing, i.e., Nibbãna.


In addition, the Buddha’s main purpose for miracle performing was to emancipate all sentient beings from sufferings, not for His own benefit.


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ