มหาตมา คานธี: วิธีการต่อสู้ Mahatma Gandhi: How to Fight

Main Article Content

ผะอบ จึงแสงสถิตย์พร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทวามนี้นำเสนอวิธีการต่อสู้ทางการเมืองของมหาตมา คานธี ซึ่งเป็นวิธีการต่อสู้ที่ได้ ชัยชนะโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ เรียกวิธีนี้ว่า “สัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วโลก การต่อสู้แบบสัตยาเคราะห์ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) สัตย์ 2) อหิงสา และ 3) การดื้อแพ่ง คานธีใช้วิธีนี้ครั้งแรกจนประสบความสำเร็จในการต่อต้านกฎหมายไม่เป็นธรรมให้กับชาวอินเดียที่เข้าไปทำงานในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ ส่วนในประเทศอินเดีย คานธีได้รับมอบหมายจากคองเกรสแห่งชาติอินเดียให้เป็นผู้นำในการต่อต้านกฎหมายไม่เป็นธรรมหลายฉบับ เช่น ร่างพระราชบัญญัติโรว์แลตต์ ปี 1919 ต่อต้านภาษีเกลือ ปี 1930 และขับอังกฤษออกจากอินเดียในปี 1942 จนในที่สุดอินเดียได้รับเอกราชในเดือนสิงหาคม ปี 1947 ด้วยคุณูปการที่มหาตมา คานธี มีต่อประเทศอินเดีย ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งชาติอินเดีย” และรัฐบาลกำหนดให้วันเกิดของท่านคือวันที่ 2 ตุลาคม เป็นวันหยุดราชการเพื่อรำลึกถึงท่าน ขณะเดียวกันองค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็น “วันไม่ใช้ความรุนแรงของโลก”


Abstract


            This article presents Mahatma Gandhi’s method of bloodless political which had brought triumph, called “Satyagraha” (Sanskrit) or passive resistance. The Satyagraha process consists of             3 attributes including (1) truth, (2) nonviolence and (3) civil disobedience. Gandhi first employed this method as an expatriate lawyer in South Africa in the resident Indian community’s struggle for civil rights. In India, assuming leadership of the Indian National Congress against the injustice laws; Rowlatt Act, 1919, Salt – March, 1930 and later calling for the British to Quit India in 1942. Eventually, in August 1947, Britain granted independence. Indians describe Mahatma Gandhi as the ‘Father of the Nation” His birthday, 2 October, is commemorated as a national holiday and World – wide as the “International Day of Nonviolence”

Article Details

บท
บทความวิชาการ