Thai Students’ Demotivation and Remotivation in an Advanced EFL Writing Class: A Case Study of English Major Students at Ramkhamhaeng University
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการลดแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาไทยในวิชาการเขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศระดับสูง และศึกษาวิธีที่นักศึกษาเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 40 คนร่วมตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ ผลของการวิเคราะห์แก่นเนื้อหาพบว่า ปัจจัยภายใน ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนมีผลทำให้แรงจูงใจในการเรียนลดลง และจากการวิเคราะห์แก่นเนื้อหาปัจจัยภายนอกได้แก่ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้สอน เช่น การสอน สื่อการสอนและสิ่งแวดล้อมในการเรียน ส่วนผลการศึกษาการเพิ่มแรงจูงใจพบว่า นักศึกษามุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายในการเรียนและ จบการศึกษา การรับรู้ถึงประโยชน์ของการเรียนวิชานี้ การมีความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับการมีอนาคตที่ดี และการสนับสนุนจากเพื่อน ครอบครัวและครู โดยภาพรวมการเพิ่มแรงจูงใจของนักศึกษาสะท้อนการพึ่งพาตนเอง ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสามารถในการเขียนและการคิดเชิงบวกต่ออนาคตตนเอง อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยภายในที่สัมพันธ์กับผู้เรียนมีอิทธิพลต่อการลดและการเพิ่มแรงจูงใจมากกว่าปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะในกรณีของการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดและไม่มีการกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน ดังนั้น นักศึกษาจึงจำเป็นต้องพึ่งพาตนเองในการเรียนมากกว่านักศึกษาทั่วไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร