ลักษณะเด่นของวรรณกรรมคำสอนประเภทโคลงสุภาษิตสมัยอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความวิชาการนี้ เพื่อนำเสนอลักษณะเด่นที่แตกต่างหลากหลายของวรรณกรรมคำสอนประเภทโคลงสุภาษิตสมัยอยุธยา จากโคลงสุภาษิตไทย 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงพาลี-สอนน้อง โคลงทศรถสอนพระรามและโคลงราชสวัสดิ์ โคลงพาลีสอนน้องมีเนื้อความเป็นคำสอน สั้น ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อรับราชการ สอนในเรื่องหลักปฏิบัติในการถวายงานรับใช้องค์พระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างความเจริญให้แก่ชีวิต โคลงทศรถสอนพระราม มีเนื้อความเป็นคำสอนเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ การปกครองอาณาประชาราษฎร์ด้วยพระเมตตากรุณาและความยุติธรรม โคลงราชสวัสดิ์ มีเนื้อความเกี่ยวกับหลักปฏิบัติของผู้ถวายงานรับใช้ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์ สอนในเรื่องการรับใช้พระองค์ท่านด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดี โคลงสุภาษิตทั้ง 3 เรื่องสะท้อนการมองโลกในแง่ดี ปลูกฝังคนให้ประพฤติดีมีศีลธรรม ขยันทำงาน ตั้งใจรับราชการ มีความกตัญญูและความซื่อสัตย์ รวมทั้งเชื่อมั่นในวิถีปฏิบัติที่นำพาสู่ความเจริญ เพื่อความผาสุกของชีวิต นอกจากบทบาทดังที่กล่าวแล้ว หากกล่าวโดยสรุปบทบาทที่สำคัญอีกประการของวรรณกรรมคำสอนยังแฝงไว้ซึ่งบทบาทในเชิงวรรณศิลป์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร