มารยาททางสังคมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ฐิตินันทน์ ผิวนิล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามารยาททางสังคมในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์และกลวิธีการกระทำในสถานการณ์ที่ถูกละเมิดมารยาทของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,200 คน จาก 8 มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 40 คน ดำเนินการ            ในปีการศึกษา 2561-2562 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับมารยาทในการปฏิสัมพันธ์แบบออนไลน์ค่อนข้างสูง โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองและจากครอบครัวเป็นหลัก มีความเคร่งครัดต่อมารยาทสูง ซึ่งเคร่งครัดมารยาทของผู้อื่นมากกว่ามารยาทของตนเอง มารยาทที่ให้ความสำคัญมากคือ ความอาวุโส ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล สำหรับประสบการณ์การถูกละเมิดมารยาทมีค่อนข้างน้อย และเมื่อถูกละเมิดมารยาทจะมีกลวิธีการกระทำ 6 ลักษณะคือ (1) การป้องกัน (2)  การตัดขาดความสัมพันธ์ (3) การนิ่งเฉย ไม่สนใจ (4) ให้คำแนะนำ ชี้แจง  และปรับความเข้าใจ (5) ยกเลิกการใช้งาน และ (6) การใช้กฎหมาย การศึกษานี้ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับมารยาทมีความสัมพันธ์เชิงลบกับประสบการณ์การถูกละเมิดมารยาท ดังนั้นควรส่งเสริมการเรียนรู้มารยาทออนไลน์ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงการเพิ่มบทบาทครอบครัวและครูอาจารย์ในการส่งเสริมมารยาทออนไลน์ให้เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย