การส่งเสริมหลักอุบาสกธรรมเพื่อธำรงพระพุทธศาสนาในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มุ่งศึกษา (1) อุบาสกธรรมในพระคัมภีร์ และ (2) แนวทางการส่งเสริมหลักอุบาสกธรรม เพื่อธำรงพระพุทธศาสนาในสังคมไทย โดยศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผลการวิจัยพบว่า อุบาสกธรรมคือ ธรรมสำหรับการประพฤติปฏิบัติของเหล่าอุบาสกอุบาสิกา จัดเป็นคุณธรรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะของอุบาสกอุบาสิกา ระดับพระอริยบุคคล และระดับกัลยาณปุถุชน ต้องหมั่นประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลอันดีต่อตนเองและสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นเดียวกับที่พระอริยบุคคลที่สามารถกระทำได้ ในสมัยพุทธกาลซึ่งมีทั้งอุบาสก อุบาสิกา ที่เป็นพระอริยบุคคลจำนวนมาก ทำให้พุทธศาสนาธำรงไว้ และขยายผลเป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบัน แนวทางการส่งเสริมหลักอุบาสกธรรมให้สัมฤทธิ์ผล จะต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ (1) ด้านบทบาทหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา (2) ด้านภาคเอกชนและหน่วยงานในสังคม (3) ด้านภาครัฐ และ (4) ด้านคณะสงฆ์ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำหลักหลักอุบาสกธรรมไปใช้ในสังคมไทย โดยมีเป้าหมาย 5 ด้าน คือ (1) การมีศรัทธา (2) การมีศีล (3) เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล (4) ไม่แสวงหาบุญนอกพระพุทธศาสนา และ (5) ทำอุปการะในพระพุทธศาสนาก่อน โดยผ่านรูปแบบ (1) การสร้างธรรมิกสังคมเป็นแนวทางเชิงรับ (2) การสร้างสังคมสงเคราะห์เป็นแนวทางเชิงรุก และ (3) การออกกฎหมายรับรองสถานภาพพระพุทธศาสนา เป็นแนวทางสร้างความมั่นคงภายในองค์กร แล้วขยายไปสู่การธำรงไว้ในพระพุทธศาสนาสังคมไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร