การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์มอญ-พม่าในจังหวัดแพร่

Main Article Content

นันทพร พุ่มมณี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม การประดับตกแต่งและอิทธิพลของศิลปะพม่าในเมืองแพร่ ผลการศึกษาพบว่า เจดีย์ในเมืองแพร่มีลักษณะร่วมของศิลปะพม่าช่วงสมัยอมรปุระ-มัณฑเล มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 และมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มของชาวพม่า             ที่เข้ามารับจ้างทำสัมปทานป่าไม้ในเมืองแพร่ สามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลาคือ ระยะแรก เจดีย์ศิลปะมอญ-พม่าช่วงสมัยอมรปุระ-มัณฑเล มีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 25 สามารถแบ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรม 2 กลุ่มคือ (1) เจดีย์ทรงระฆัง ได้แก่ เจดีย์วัดจอมสวรรค์ เจดีย์วัดสระบ่อแก้ว เจดีย์-วัดนาสาร พระธาตุดอยน้อย มีลักษณะเจดีย์ทรงระฆังรูปทรงป้านไม่มีบัลลังก์ มีเจดีย์ประธานและเจดีย์รายล้อมรอบ และ (2) เจดีย์ทรงวิหารยอด ได้แก่ เจดีย์วัดต้นธง เจดีย์วัดเวียงต้า เจดีย์วัดใหม่-พม่า เจดีย์วัดโพธิสุนธร มีลักษณะของเรือนธาตุในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีการประดับจระนำที่เรือน-ธาตุ ส่วนยอดเจดีย์มีลักษณะเจดีย์ทรงระฆังกลมแบบพม่า ไม่มีบัลลังก์ มีการประดับลวดลายปูนปั้นอิทธิพลล้านนาและตะวักตก และระยะที่สองคือ เจดีย์ศิลปะมอญ-พม่าศิลปะพม่าระยะหลังประยุกต์ศิลปะท้องถิ่น มีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 26 พบกระจายในอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น พบกลุ่มเดียวคือเจดีย์ทรงระฆัง ซึ่งรูปแบบของเจดีย์ในช่วงนี้มีลักษณะผสมของช่างท้องถิ่นของเมืองแพร่ และการประดับตกแต่งแบบศิลปะรัตนโกสินทร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองพุทธศาสนสถาน. (2532). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์. (2553). การศึกษาอิทธิพลศิลปะพม่า กรณีศึกษา เจดีย์วัดจองกลาง วัดจองเหนือ
และวัดจองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2555). เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ: พัฒนาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตรถึงศิลปะมัณฑเล. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
โชติมา จตุรวงค์. (2554). สถาปัตยกรรมวัดมอญในพม่าตอนล่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อีที พับลิซซิ่ง.
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดแพร่ (ม.ป.ป.). ประวัติและสถาปัตยกรรมใน
เมืองแพร่: โครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเมือง : คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติ. แพร่: ม.ป.ท.
พระธรรมวิมลโมลี. (2548). 100 ปี เหตุการณ์กบฎเงี้ยวก่อการจราจลในเขตมณฑลพายัพ พ.ศ. 2445.
พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.
พระธาตุขวยปู. (2561). ประวัติพระธาตุขวยปู. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/tat.phrae/ posts/1496321303779869
วัดพระธาตุดอยกลางอริยสัจจัง. (ม.ป.ป.). ประวัติพระธาตุดอยกลางอริยสัจจัง. แพร่: ม.ป.ท.
(อัดสำเนา)
วัดพระธาตุดอยน้อย. (ม.ป.ป.). ประวัติพระธาตุดอยน้อย. แพร่: ม.ป.ท. (อัดสำเนา)
วัดโพธิบุปผาราม. (2561). ประวัติวัดโพธิบุปผาราม. สืบค้นจาก https://www.lovethailand.org /travel/th/8-แพร่/4609- วัดโพธิบุปผาราม
วัดสระบ่อแก้ว. (ม.ป.ป.). ประวัติวัดสระบ่อแก้ว. แพร่: ม.ป.ท. (อัดสำเนา)
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2553). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2556). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พลับลิชชิ่ง.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2540). โบราณคดีล้านนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สมาพันธ์.
สุรพล ดำริห์กุล. (2554). เจดีย์ช้างล้อมกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองและพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์
ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัทรดิศ ดิศกุล และสันติ เล็กสุขุม. (2549). เที่ยวดงเจดีย์ที่พม่าประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2557). ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ. (2551). นครแพร่จากอดีตมาปัจจุบัน ภูมินิเวศน์วัฒนธรรม ระบบความเชื่อและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก–ประไพ.
องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดแพร่. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ฉบับ พ.ศ. 2550. แพร่: ห้างหุ้นส่วน เมืองแพร่การพิมพ์.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (2560). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ฉบับ พ.ศ. 2559 จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี. แพร่: เมืองแพร่การพิมพ์.