การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

จันทกานต์ สิทธิราช, ธนพร หมูคำ, ศรีวิไล พลมณี, ประเทือง ทินรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ที่ปรากฏในภาษิตไทใหญ่การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


โดยศึกษาจากภาษิตไทใหญ่ที่ปรากฏในแหล่งข้อมูลรวม  6 แหล่ง ได้แก่ 1) กาเลห -ม่านไตในรัฐฉาน ของบรรจบ พันธุเมธา  2) ไท TAI ของ  ฉลาดชาย รมิตานนท์ วิระดา สมสวัสดิ์ และเรณู วิชาศิลป์ 3) สุภาษิตคำพังเพยไทใหญ่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1  4) การศึกษาภาษิตไทใหญ่ ของนันทริยา  สาเอี่ยม 5) การศึกษาภาษิตไต - ล้านนา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ของมาเรียม ศรีสุวรรณ์ และ 6) ภาษิตไทใหญ่จากเว็บเพจกลุ่มคนรักภาษาไต ของสุพัตรา ไชยพรหม รวมภาษิตไทใหญ่จำนวนทั้งสิ้น 2,880 บท ใช้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (Ethnicity) ของ Eriksen วิเคราะห์อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ที่ปรากฏในภาษิตไทใหญ่ และใช้แนวการวิเคราะห์อัตลักษณ์แบบโลกาเทศาภิวัตน์ (Glocalization) ของ Robertson วิเคราะห์การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยพบอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ที่ปรากฏในภาษิต จำนวน 177 บท จัดแบ่งหมวดหมู่ได้ 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทการใช้ถ้อยคำ ประเพณีและความเชื่อ วัฒนธรรมวัตถุด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะพื้นบ้านและประเภทอาชีพ ส่วนการศึกษาการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ เมื่อสังคมเปลี่ยนไปพบว่า อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ที่หายไปจากวิถีชีวิตของชาวไทใหญ่โดยสิ้นเชิง คือ อาชีพการค้าขายทางไกลและอัตลักษณ์ที่เลือนหายไปจากค่านิยมของคนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนแต่ยังพบเห็นบ้างในผู้สูงวัยและผู้มีความชื่นชอบเป็นการส่วนตัว คือ การสักลาย ส่วนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ที่ถูกเลือกสรรจากชุมชนและดำรงอยู่ตามวิถีชีวิตปัจจุบันของไทใหญ่เมืองแม่ฮ่องสอนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ วัด ภาษา อาหาร เครื่องแต่งกาย หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ศิลปะการแสดง และเครื่องดนตรี

Article Details

บท
บทความวิจัย