ความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทยของสถานประกอบการ จังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสำรวจความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทยของสถานประกอบการจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สถานประกอบการและประชาชนชาวกัมพูชา ในเขตพื้นที่บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางประมาณค่าของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcic and Morgan) ใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ จำนวน 120 ชุด จากสถานประกอบการ จำนวน 20 ชุด และประชาชนชาวกัมพูชา จำนวน 100 ชุด เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วจึงวิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) และค่าเฉลี่ย (Average)
ผลการวิจัยสรุปว่า สถานประกอบการจังหวัดไพลิน ประทศกัมพูชา มีความต้องการบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทยที่มีคุณลักษณะด้านทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้ดี ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 ทักษะการพูดเป็นทักษะทางภาษาไทยที่ต้องการให้บุคลากรมีความสามารถใช้ได้ดี ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.90 สำหรับความต้องการบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทยโดยเฉพาะอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.95 แต่มีความความต้องการส่งเสริมให้บุคลากรศึกษาเพิ่มเติมด้านภาษาไทย ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.45
ประชาชนชาวจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา มีความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.80 ทักษะการพูดเป็นทักษะทางภาษาไทยที่ต้องการพัฒนา ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.90 ความต้องการศึกษาเพิ่มเติมด้านภาษาไทยในหลักสูตรระยะสั้น ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.95 วัตถุประสงค์ของการศึกษาภาษาไทย โดยมีความต้องการประกอบอาชีพในประเทศไทยมากกว่าในประเทศกัมพูชา ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.85
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร