บทบาทของกวีกลุ่ม “อพอลโล” ที่มีต่อบทกวีอาหรับยุคใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมาและวิเคราะห์บทบาทของนักวรรณกรรมกลุ่ม “อพอลโล”ที่มีต่อบทกวีอาหรับยุคใหม่จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและบทบาทของนักวรรณกรรมกลุ่ม “อพอลโล” ที่ออกมาเคลื่อนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
กวีนิพนธ์อาหรับถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีการเรียนรู้และถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีรูปแบบการประพันธ์ที่เคร่งครัดตามขนบธรรมเนียม นอกจากนี้กวีนิพนธ์อาหรับเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ และภูมิปัญญาของชาวอาหรับในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต สภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ รวมไปถึงวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองของชาวอาหรับที่มีความเป็นมาอย่างทรงพลัง เป็นศิลปะที่ได้รับความนิยมและแสดงการวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน
กวีกลุ่ม “อพอลโล” เป็นกลุ่มกวีที่จัดอยู่ในยุคของนักวรรณกรรมอาหรับยุคใหม่ เป็นหนึ่งในกลุ่มกวีที่ต้องการหลีกหนีความจำเจของบทกวีที่ต้องยึดติดกับฉันทลักษณ์และท่วงทำนองแบบดั้งเดิม โดยนำเสนอแนวทางการประพันธ์บทกวีรูปแบบใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กวีนิพนธ์แนวโรแมนติก ที่กวีนั้นสามารถสื่อสารแสดงความรู้สึกของตนออกมาได้อย่างเสรี แต่งเติมจินตนาการของพวกเขาผ่านตัวอักษรที่บรรจงเรียงร้อยมาอย่างประณีต งดงามและอ่อนช้อย
กวีนิพนธ์ของนักวรรณกรรมกลุ่ม “อพอลโล” มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนและความรู้สึกของกวีผ่านธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบตัว เนื้อหาของบทกวีมักเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรักที่ไม่สมหวัง มีการสอดแทรกประเด็นทางสังคม รวมถึงทัศนคติของกวีที่มีต่อสภาพ แวดล้อมรอบตัว โดยใช้การพรรณนาโวหารเพื่อให้เกิดจินตภาพ ใช้อารมณ์และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการประพันธ์บทกวี ปรากฎการณ์ทางกวีรูปแบบใหม่นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการวรรณกรรมอาหรับยุคใหม่อย่างมาก ทั้งด้านที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างโดยรวมของบทกวี รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอและแนวคิดด้านการประพันธ์กวีนิพนธ์ด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร