ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน กับการแก้ปัญหาข้อพิพาท ระหว่าง ไทย-กัมพูชา: กรณีเขตแดนและปราสาทพระวิหาร ASEAN Political - Security Community and the Solution of Thailand and Cambodia Conflicts: the Border and Preah Vihear

Main Article Content

ดร. จิรรัชวัลคุ์ ทรงสุวรรณวิภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน กับการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่าง ไทย-กัมพูชา: กรณีเขตแดนและปราสาทพระวิหาร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย (1) เพื่อศึกษาบทบาทของสมาคมอาเซียนที่มีต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (2) เพื่อศึกษากลไกการแก้ปัญหาเมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ผ่านมาและที่กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (3) เพื่อศึกษาความขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่าง ไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร (4) เพื่อประเมินโอกาส ความสำเร็จ และประสิทธิภาพของกลไกต่าง ๆ ของอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กำหนดไว้ใน         กฎบัตรอาเซียน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของประเทศในภูมิภาค

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งและกรณีพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนหลาย ๆ กรณีได้เกิดขึ้นและเป็นที่จับตามองในเวทีโลก เช่น กรณีพิพาทเรื่องเขตแดนและปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา

ความขัดแย้งของประเทศสมาชิกเป็นเรื่องสำคัญและอาเซียนไม่อาจเพิกเฉย เนื่องจากจะนำไปสู่ ความเห็นที่แตกแยก ความหวาดระแวงต่อกัน ซึ่งยังผลเสียต่อนโยบายและทัศนะที่มีต่อกัน

ดังนั้น การประสานรอยร้าวระหว่างกันจึงเป็นเรื่องที่อาเซียนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากการนำ ความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงที่ได้ดำเนินการมาชั่วระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น เช่น ข้อตกลงภายใต้สนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เกิดขึ้นใน                ค.ศ. 1976 สนธิสัญญาว่าด้วยการทำให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง ที่เกิดใน ค.ศ. 1971 และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 รวมถึงการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน รวมถึงอนุสัญญาต่าง ๆ เช่น อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย โดยกรอบการทำงานของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนที่ใช้แก้ไขปัญหากรณีพิพาทของประเทศสมาชิกนั้น อยู่ภายใต้ขอบเขตและกรอบของกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียน

ABSTRACTS

            The objectives of this research are; (1) to study the role of ASEAN leading up to the ASEAN Political-Security Community; (2) to survey the mechanisms to resolve disputes between countries in the region in the past and those set forth in the Charter, particularly in ASEAN Political-Security Community; and (3) to study conflicts the solution of Thailand and Cambodia the border and Preah Vihear (4) to assess the success and effectiveness of various mechanisms of ASEAN in resolving conflicts among member countries.

The establishment of present conflicts and disputes between member states  have got attention of international community such as territorial disputes and the Preah Vihear case between  Thailand and Cambodia.

ASEAN cannot afford to ignore conflicts that have occurred because they lead to rift and distrust which affect policies and attitudes towards each other. Cementing such rifts is therefore very crucial for ASEAN.

The ASEAN Political-Security Community is based on the foundation of the cooperation and agreement of ASEAN in political and security matters which have operated for quite a while. It has achieved tangible and more structured results in various agreements such as the Declaration on the Zone of Peace, Freedom and Neutrality, ZOPFAN of 1971, Treaty of Amity and Cooperation, TAC of 1976 and the Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon Free Zone, SEANWFZ of 1994 including the ASEAN Regional Forum, ARF, ASEAN Defense Ministers' Meeting, ADMM and conventions such as the ASEAN Convention on Counter-Terrorism, ACCT. These mechanisms will lead to political stability in Southeast Asia with the end result of the establishment of the ASEAN Political-Security Community. In the process, ASEAN countries have comprehensive and effective mechanisms to resolve issues related to security and  political conflicts between member states. The framework of the ASEAN Political-Security Community and  various mechanisms are used to resolve the disputes within the framework of the ASEAN Charter which serves like a constitution.

Article Details

บท
บทความวิจัย