การทำน้ำตาลโตนดในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี: การเปลี่ยนแปลง ทางสังคมวัฒนธรรม การปรับตัว สู่แนวโน้มการประกอบอาชีพ Sugar Production from Palmyra Palm in Banlad District, Petchburi Province: Socio-Cultural Changes, Adaptations to Occupationa

Main Article Content

สุวิมล อังควานิช อังควานิช
นภสมน นิจรันดร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative  Method)                มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่มีต่ออาชีพการทำน้ำตาลโตนด            ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี  ศึกษาการปรับตัว ความต้องการด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและการสนับสนุนทางสังคม รวมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มการคงอยู่ของอาชีพดังกล่าว

ประชากรในการศึกษาประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม สุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ (Snowball  Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ผู้วิจัยและคณะเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก   (In-depth Interview)   และการสนทนากลุ่ม   (Focus Group)  ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพการประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนด ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี พบว่า อำเภอบ้านลาด ประกอบด้วย 18 ตำบล 115 หมู่บ้าน ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว 291 คน

2.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนด พบว่า อาชีพการทำน้ำตาลโตนดแบบดั้งเดิมมีแนวโน้มลดลง เพราะถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและยังมีมิติอื่น ๆ มาร่วมอธิบายรวมเป็น 4 มิติ  มิติแรกด้านสภาพนิเวศ  มิติที่สองด้านสังคมวัฒนธรรม  มิติที่สามด้านเศรษฐกิจ  มิติที่สี่ด้านการศึกษา

3. การปรับตัว ความต้องการด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ รวมทั้งการสนับสนุนทางสังคมของผู้ประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนด พบว่า เกษตรกรมีการปรับตัวโดยลดการทำน้ำตาลโตนด แต่เพิ่มการทำนา พยายามใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปรับวิถีการผลิตโดยแยกการผลิตเป็นทำน้ำตาลโตนดแท้ที่ราคาแพงกับทำน้ำตาลหลอมที่มีราคาถูกสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

4. แนวโน้มการคงอยู่ของอาชีพการทำน้ำตาลโตนด พบว่า การทำน้ำตาลโตนดแบบดั้งเดิมโดยใช้ผลผลิตน้ำตาลที่ได้จากต้นตาลที่ขึ้นตามหัวไร่ปลายนายังคงอยู่ แต่มีปริมาณลดลงและอาจจะหายไปในเวลาอีกไม่เกิน 30 ปี มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและภูมิปัญญาบางส่วน        การทำน้ำตาลโตนดจากสวนตาลในอนาคตมีแนวโน้มพัฒนาสู่ธุรกิจการเกษตรแบบบรรษัทข้ามชาติ

 

Abstract

This qualitative research aims at studying the socio-cultural changes in the occupation of producing sugar from palmyra palm in Banlad District, Petchburi Province; it studies people’s adaptation, technological needs, economics, and social support, including the analysis of the trend to continue in this occupation.

The demographic profile of the sample comprises five groups of people. Fifty people were chosen using  the method of snowball sampling. The researchers and the staff collected the

data during the field trip using in-depth interview and having conversations with members of the focus group together with participation and non-participation observations.

The findings are as follows:

  1. Regarding the production of palmyra palm sugar in Banlad District, Petchburi Province, it was found that Banlad District consists of 115 villages in 18 sub-districts. Only 291 people have the occupation of producing sugar.
  2. Regarding the effects of socio-cultural changes on the occupation, it was found that the traditional way of producing palmrya palm sugar has declined because of the socio-cultural changes totally four dimensions. The first concerns the ecological dimension. The second concerns the socio-cultural dimension. The third concerns the economic dimension. The fourth concerns the educational dimension.
  3. As for adaptation, the technological and economic needs, and the social support, the findings were that the farmers lower the palmyra palm sugar production and increase the rice farming production; they also try to apply modern technology; they adjust the production by launching the less expensive melt sugar in place of the genuine and more expensive palmyra palm sugar production.
  4. Regarding the trend to preserve palmyra palm sugar production, the findings indicate that the traditional way of production using the raw material from the palm grown in their rice fields at the end of the farm plot is decreasing and may disappear within the next 30 years. The traditional way of production has been adjusted by applying some technology and local wisdom. The sugar production from the palmyra palm plantation is likely to develop into a multinational agribusiness in the future.

Article Details

บท
บทความวิจัย