การเปลี่ยนแปลงประชาคมหมู่บ้าน: การขยายตัวและความยั่งยืนในชุมชน บ้านคุ้ม ตำบลคูเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร The Changes of Village Civil Society: Expansion and Sustainability in Ban Khum Community, Khu Muang Sub-district, Maha

Main Article Content

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาลักษณะประชาคมหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่ เพื่อวิเคราะห์               ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของประชาคมหมู่บ้านคุ้ม (เดิม) ซึ่งได้มีการขยายไปสู่หมู่บ้านอื่น และเพื่อศึกษาผลกระทบของแนวความคิดประชาคมที่มีต่อหมู่บ้านคุ้ม (เดิม หมู่ที่ 2) และหมู่บ้านอื่น (หมู่ที่ 6 และ 9)  การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ 

                ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะประชาคมหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่  เป็นการรวมกลุ่มของกลุ่ม          ออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในปีพ.ศ.  2528  มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน จนพัฒนาการเป็นประชาคมหมู่บ้าน ถือได้ว่าเกิดขึ้นจากความต้องการของชาวบ้านโดยตรง ในลักษณะของการดำเนินการจากล่างสู่บน   (Bottom up)   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จนกระทั่งการฝากเงินออมทรัพย์มีจำนวนมากขึ้น สมาชิกของกลุ่ม    จึงได้ตัดสินใจแยกไปจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในแต่ละหมู่บ้านของตนเอง โดยยัง   คงทำหน้าที่เป็นประชาคมเช่นเดิม  จึงกล่าวได้ว่าเป็นการขยายตัวของประชาคมไปยังหมู่บ้านอื่น     2)  การเปลี่ยนแปลงของประชาคมหมู่บ้านคุ้ม (เดิม) ในลักษณะของการขยายไปสู่หมู่บ้านอื่น       มีปัจจัยต่าง ๆ คือ นโยบายของรัฐด้านการเงิน ทุนเงินล้านเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน ความพร้อม      ด้านศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารองค์กร   การกระจายอำนาจของการปกครองท้องถิ่น

การขยายตัวของสมาชิกและเงินฝากเพิ่มมากขึ้น  การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ 3) ผลกระทบของแนวความคิดประชาคมที่มีต่อหมู่บ้านคุ้ม              (เดิม หมู่ที่ 2) และหมู่บ้านอื่น (หมู่ที่ 6 และ 9) ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจปัญหาของชุมชน  การดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน  ความตระหนักถึงบทบาทของประชาคมที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตชุมชน  และการพัฒนาความยั่งยืนของแนวความคิดประชาคม


 

Abstract

The objectives of this research were to study the characteristics of 3 villages civil society, to analyze factors related to the changes of the Village Civil Society (VCS) which expanded to the other two villages, and to study the impacts of VCS on Ban Khum community (former, Mu 2) and others (Mu 6 and Mu 9). The research study was based on the qualitative methodology. 

Results of study were that: 1) the characteristics of 3 villages were a developing VCS in 1985, initiated by the needs of villagers, and managed from the bottom up operation; 2) factors related to expand VCS from Ban Khum community to the other two villages were the government policy of one million baht village fund development, readiness of human resource development in administrative organizations, decentralization of local organizations, expansion of members and increasing of saving, learning organization development, and basic infrastructure development; and 3) the impacts of VCS on Ban Khum community and others were the learning process and understanding community problems, the operations for the community problem solving, role consciousness of VCS influencing on community ways of life, and the sustainability development of VCS concept.

Article Details

บท
บทความวิจัย