Balancing Work, Study, and Family Demands: Experience of Thai Working Mother Enrolled in Doctoral HRD Program การสร้างความสมดุลระหว่าง การเรียน การทำงาน และครอบครัว: กรณีศึกษา จากประสบการณ์ของคุณแม่วัยทำงานที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

Main Article Content

Thanit Thinnam

บทคัดย่อ

Abstract

This study investigates the experience of four Thai working mothers who enrolled in part time, the Ph.D. in the HRD program in one Thai university.  Data was collected by an interview. Each respondent was interviewed twice with two different interview guides.  Four theoretical constructs emerge. Theoretical construct one illustrates that the Thai tradition of women being responsible for major childcare and household tasks is existed. Theoretical construct two is that subjects have both internal and external motivations to studying and motivation from work can be both negative and positive drives. Theoretical construct three presents various types of work-study relation; i.e., agreeing opposing and agreeing in one direction and opposing in another. Theoretical construct four reflects the 'tough' experience of these participants to various responsibilities. Researcher argues that strategic life management and ability to integrate study to work and family demand are key characteristics of subjects to manage  their lives. However, they need family and workplace supports to integrate three parts of work-study-family demands and responsibilities.

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาประสบการณ์ในการจัดการกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลาย ๆด้านที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์สตรีที่แต่งงานมีบุตรแล้ว และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกไปพร้อม ๆ กับการทำงาน จำนวน 4 ท่าน โดยทำการสัมภาษณ์ 2 ครั้ง ในระยะเวลาที่ห่างกัน 12 เดือน ผลการวิจัยสามารถแบ่งเป็น 4 ประเด็นหลักคือ (1) ขณะที่ศึกษาต่อผู้เข้าร่วมวิจัยยังมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเลี้ยงดูบุตรและงานในครัวเรือน ซึ่งสะท้อนบทบาทหน้าที่ของสตรีในสังคมไทย (2) แรงจูงใจในการศึกษาต่อมีทั้งแรงจูงใจจากภายในตัวผู้เข้าร่วมวิจัย และแรงจูงใจจากภายนอก ส่วนแรงจูงใจจากการทำงานสามารถเป็นได้ ทั้งแรงผลักด้านบวกและลบในการทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตัดสินใจทำการศึกษาต่อ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานและการเรียนมีหลายรูปแบบ ทั้งส่งเสริมกัน ขัดแย้งกัน และส่งเสริมกัน   ในบางด้านและขัดแย้งกันในบางด้าน และ (4) ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนประสบความยากลำบากในการตอบสนองต่อความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน ผู้วิจัยพบว่าการจัดการเชิง   กลยุทธ์ของการดำเนินชีวิต และความสามารถในการบูรณาการการตอบสนองต่อความรับผิดชอบด้านครอบครัวและงานเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารชีวิต  ซึ่งการสนับสนุนจากครอบครัว และสถานที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถบูรณาการการตอบสนองต่อความรับผิดชอบด้านครอบครัว และงานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย