ความสนใจของนิสิตชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา วรรณกรรมกับสังคม ในการศึกษาวรรณกรรม การวิจารณ์ และภาพสะท้อนสังคมไทย 4.0

Main Article Content

ชนาภา ดวงไฟ และ สนิท ยืนศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดประเภทหัวข้อภาพสะท้อนสังคมไทย 4.0 ที่ปรากฏในงานวิจารณ์วรรณกรรม ของนิสิตชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา วรรณกรรมกับสังคม มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 280 คน  และวิเคราะห์ค่านิยม ความคิด ความเชื่อของนิสิตที่แสดงออกผ่านการวิพากษ์วิจารณ์การประเมินคุณค่าของวรรณกรรมที่เลือกมา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยด้วยกรอบทฤษฎีการวิจารณ์ปฏิกริยาตอบสนองของผู้เสพงาน (Audience Response Criticism) โดยเน้นความสำคัญที่ตัวผู้เสพงานวรรณกรรมมากกว่าตัวตนผู้สร้างงาน หรือ ตัวเนื้อหาที่ปรากฏในงานวรรณกรรมนั้นๆ  ผลการวิจัย พบว่าวรรณกรรมที่คัดเลือกมานำเสนอมี 11 ประเภทจัดเรียงตามลำดับมากไปหาน้อยได้ดังนี้  1. งานวรรณกรรมประเภท ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเลี้ยงดู และวัตถุนิยมพบมากที่สุดที่ระดับ 15.21%  2. งานวรรณกรรมประเภทด้านพฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น(Bullying)  ที่ระดับ 13.04%   3.งานวรรณกรรมแสดงค่านิยมทางสังคม ความรุนแรงในสังคมที่ระดับพบที่ระดับ 10.86 %  4.งานวรรณกรรมด้านเพศสภาวะ ชนชั้นทางสังคม ผลกระทบของเทคโนโลยีพบที่ระดับ 8.69%  5.งานวรรณกรรมด้านการเมือง พบที่ระดับ 4.34 %  6. งานวรรณกรรมด้านเศรษฐกิจและยาเสพติดพบที่ 2.17%  ด้านความคิดของนิสิตที่สะท้อนผ่าน

Article Details

บท
บทความวิจัย