ลีลาภาษาในวรรณกรรมนิทานของมาลา คำจันทร์

Main Article Content

ภคภต เทียมทัน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาภาษาในวรรณกรรมนิทานของมาลา คำจันทร์ เก็บข้อมูลจากนิทานของมาลา คำจันทร์ จำนวน 19 เรื่อง ที่ปรากฏในหนังสือ “นิทานมาลา 1 เหรียญเวทมนตร์” (2551) และหนังสือ “นิทานมาลา 2 คันธมาทน์แตงหอม” (2551) ผลการศึกษาพบว่า ด้านการใช้คำ ปรากฏคำอ้างถึงตัวละคร คำพรรณนาจินตภาพทางประสาทสัมผัส คำศัพท์ที่สื่อความถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำศัพท์ที่สื่อความถึงอิทธิฤทธิ์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ คำบอกสี คำภาษาไทยถิ่นเหนือ คำซ้อน และคำซ้ำ ด้านการใช้ประโยค ปรากฏประโยคขยายความ ด้านวรรณศิลป์ ปรากฏความเปรียบ สัมผัส และการใช้ระดับภาษาเหมาะสมกับตัวละคร ส่วนด้านบริบทและสัมพันธภาพ นิทานทุกเรื่องสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับเด็ก มีลักษณะการดำเนินเรื่องแบบเรื่องเล่า อีกทั้งยังมีลักษณะเหนือวิสัย ทำให้นิทานทุกเรื่องเกิดสัมพันธภาพร่วมกันอย่างกลมกลืน ลีลาภาษาข้างต้นช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราว สร้างความสนุกสนาน สร้างจินตภาพให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความสละสลวย รวมถึงสอดแทรกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่พึงปฏิบัติในสังคมไว้ให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ในทางอ้อม ลีลาภาษาดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นว่า ลักษณะการใช้ภาษาของมาลา คำจันทร์มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับประเภทผลงานและกลุ่มเป้าหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย