มโนทัศน์“สตรี”ในวรรณกรรมจีนสมัย ค.ศ.1912 – ปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบมโนทัศน์ “สตรีจีน” ต่อความเข้าใจวิถีชีวิตตามบทบาทหน้าที่ลูกสาว แม่ และภรรยา สถานภาพสตรีจีนในวรรณกรรมจีนเรื่อง “ตำนานรักทุ่งสีเพลิง” และ “เสียงเพรียกที่กลบเร้นจากแผ่นดินใหญ่” ผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เป็นวรรณกรรมจีนที่มีการแปลเป็นภาษาไทยเท่านั้น แบ่งการเก็บข้อมูลวรรณกรรมเป็น 2 ยุค คือ ยุคสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912 - 1989) และยุคสาธารณะรัฐประชาชนจีน (ค.ศ.2002 – ปัจจุบัน) วรรณกรรมเรื่อง “ตำนานรักทุ่งสีเพลิง” เป็นตัวแทนให้เห็นถึงมโนทัศน์ของสตรีจีนในยุคสาธารณะรัฐจีน ทั้งนี้เพราะเป็นสมัยสิ้นสุดของราชวงศ์ชิง สังคมจีนยังคงยึดระบบสังคมแบบศักดินา และวรรณกรรมเรื่อง “เสียงเพรียกที่กลบเร้นจากแผ่นดินใหญ่” เป็นตัวแทนมโนทัศน์ของสตรีจีนในยุคสาธารณะรัฐประชาชนจีน เพราะหลังจากการปฏิรูปการปกครอง สังคมจีนมีการเรียกร้องและสนับสนุนความเท่าเทียมกันระหว่างสตรีกับบุรุษ ผู้วิจัยนำแนวคิดของ เบอร์โล (Berlo. 1996: 29) มาใช้ในการวิเคราะห์บทบาทสตรีจีน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) บทบาทที่ถูกกำหนดไว้ (Role Prescriptions) 2) บทบาทที่กระทําจริง (Role Descriptions) และ 3) บทบาทที่ถูกคาดหวัง (Role Expectations)
ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมจีนทั้งสองเรื่องปรากฏให้เห็นชัดเจนถึงมโนทัศน์ “สตรีจีน” ตามบทบาทหน้าที่ 3 ลักษณะ กล่าวคือ เมื่อเป็น “ลูกสาว” ต้องเชื่อฟังบิดารมารดาและปฏิบัติตนตามคำสั่งหรือความต้องการของบิดามารดา เมื่อเป็น “แม่” จะต้องพยายามดูแลลูกทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและปกป้องลูกจากภยันตราย และเมื่อเป็น “ภรรยา” ต้องดูแลสามี พยายามรักษาปกป้องครอบครัวของตนเอง อีกทั้งต้องอดทนต่อทุกการกระทำของสามี ปราศจากการเรียกร้องใดๆ สตรีจีนที่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามจารีตที่ถูกขีดไว้และกระทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับบทบาทหน้าที่ที่แยกตาม 3 ลักษณะไว้จะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร