กระบวนการค้นหาศักยภาพด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเขตอนุรักษ์แหล่งน้ำห้วยคล้า บ้านหนองเข็งน้อย ตำบลกฤษณา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ธันยพงศ์ สารรัตน์ โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ และภัทรพล จันทร์เพ็ญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชน 2) ค้นหาศักยภาพการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ กิจกรรมและวิถีชีวิตชุมชนโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยการสำรวจพื้นที่บ้านหนองเข็งน้อย ตำบลกฤษณา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพและวิเคราะห์ประเมินศักยภาพของพื้นที่ร่วมกับการสัมภาษณ์และคืนข้อมูลสู่ชุมชนด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบภูมิทัศน์ร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการวิศวกรสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชนและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ปลาจาละเม็ดน้ำจืด หน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่แหล่งน้ำห้วยคล้าจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) พื้นที่แห่งนี้มีจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวและมีศักยภาพเหมาะที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงไปสู่แหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงทั้งทางบกและทางน้ำ ประกอบกับ 2) แนวคิดการวางผังเพื่อเชื่อมโยงการเข้าถึงพื้นที่ท่องเที่ยวเส้นทางเดินชมวัดที่เป็นเกาะกลางน้ำ เส้นทางเดินชมธรรมชาติริมน้ำ และจุดแวะพักเพื่อชมวิว 1 จุด ชุดชมฝายน้ำล้น 1 จุด และพัฒนากิจกรรมใส่บาตรริมน้ำและกิจกรรมจดทะเบียนสมรสปลา โดยมี 3) แนวคิดหลักในการออกแบบที่คำนึงถึงความเหมาะสมและกลมกลืนกับบริบทสภาพแวดล้อมทั้งในส่วนของแนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยทักษะวิศวกรสังคมที่ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน ทีมวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบนำไปประยุกต์ใช้เพื่อดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมได้กับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นภายใต้ความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย