รูปแบบการใช้ภาษาเพื่อแสดงความเห็นแย้งบนเฟซบุ๊ก: ตัวบ่งชี้การตระหนักรู้เรื่องการคุกคามหน้าผู้ฟังของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

ภัทณิดา โสดาบัน

บทคัดย่อ

การแสดงความเห็นแย้งเป็นการกระทำที่คุกคามหน้าผู้ฟัง และเป็นประเด็นที่คนในสังคมไทยระมัดระวัง การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการใช้ภาษาเพื่อแสดงความเห็นแย้งบนสังคมออนไลน์ได้แก่ เฟซบุ๊ก เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่มีความเป็นสาธารณะและมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวางระหว่างผู้ที่ไม่รู้จัก การศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์หารูปแบบการใช้ภาษาเมื่อผู้พูดต้องการแสดงความเห็นแย้งกับผู้อื่น และศึกษารูปแบบเหล่านั้นในฐานะตัวบ่งชี้การรับรู้เรื่องการคุกคามหน้าของผู้อื่น โดยผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้ภาษาเลือกใช้รูปแบบเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) ขึ้นต้นด้วยคำบ่งชี้แสดงการไม่เห็นด้วย 2) ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำผรุสวาท ด่าทอหยาบคาย 3) ปรากฏข้อความที่เป็นเนื้อความของความเห็นแย้งโดยตรง และ 4) ปิดท้ายการแสดงความเห็นแย้งด้วยคำเสริมท้ายแสดงการถาม


          จากรูปแบบการใช้ภาษาที่พบแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ภาษามีความตระหนักรู้ว่าการแสดงความเห็นแย้งเป็นการคุกคามหน้า และสะท้อนความพยายามสร้างความสุภาพ โดยพยายามจะลดความรุนแรงของการคุกคามด้วยการใช้คำเสริมท้ายรูปภาษายกย่อง แต่การแสดงความเห็นแย้งยังเกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา และไม่ได้ทำให้การคุกคามหน้าผู้ฟังลดน้อยลง ซึ่งรูปแบบการสื่อสารในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างโดดเด่นมาโดยตลอด

Article Details

บท
บทความวิจัย