การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สภาวะสูงวัยของสตรีข้ามเพศในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สภาวะสูงวัยของกลุ่มสตรีข้ามเพศในสังคมไทย ผลกระทบจากการเข้าสู่สภาวะสูงวัย และข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สภาวะสูงวัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ กลุ่มสตรีข้ามเพศจำนวน 11 คน ผลการศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่สภาวะสูงวัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ แต่ปัจจัยทางการเงินมีผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแลรักษาร่างกายของกลุ่มสตรีข้ามเพศในทุกวัย ส่วนในด้านเศรษฐกิจพบว่าส่วนใหญ่คำนึงถึงความสำคัญในการออมเงิน แต่มีปัญหาภาระด้านครอบครัว การวางแผนการใช้ชีวิต และอาชีพที่สร้างรายได้จำกัดและไม่มั่นคง ในด้านผลกระทบจากการเข้าสู่สภาวะสูงวัยด้านสังคม ส่วนใหญ่มองว่าตนเองไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากสังคมไทยมีการเปิดกว้างและยอมรับกลุ่มคนข้ามเพศมากขึ้น ข้อเสนอแนะต่อสตรีข้ามเพศมี 3 ประการคือ ควรมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การสร้างภาคีเครือข่ายในระหว่างกลุ่มสตรีข้ามเพศ และการสร้างการยอมรับของครอบครัว ส่วนข้อเสนอแนะต่อภาครัฐคือ ภาครัฐควรสนับสนุนกฎหมายคู่ชีวิตในกลุ่มหลากหลายทางเพศ และการมีระบบประกันสุขภาพรวมไปถึงสวัสดิการของรัฐให้มีความครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของสตรีข้ามเพศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
กนกพร อริยา. (2561). การศึกษาความต้องการพื้นฐานของผู้ชายข้ามเพศในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). เติมรู้ เตรียมพร้อม ก่อนสูงวัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์).วารสารกึ่งวิชาการ, 38(1), 5-28.
เฉลิมขวัญ เมฆสุข และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). คนข้ามเพศ : การใช้ชีวิตคู่ การสร้างครอบครัว และการเลี้ยงดูบุตร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(1), 37-51.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. บทความวิชาการ
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-23.
ณรงค์ อนุรักษ์ และคณะ. (2564). ภาพลักษณ์สตรีข้ามเพศในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 254 - 269.
ทักษิณา ข่ายแก้ว. (2559). งานวิจัยชี้การแพทย์ที่ก้าวหน้าจะช่วยให้คนเรามีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้นแต่จะไม่เกิน 100 ปี . สืบค้นจาก https://www.voathai.com/a/lifespan-duration-tk/3543685.html
บีบีซี นิวส์. (2564). LGBT: หญิงข้ามเพศชาวมาเลเซียเผยต้องลี้ภัยเพราะเลือกเกิดไม่ได้. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-59349965
บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.
พงศธร เจียรศิริ. (2561). โครงการออกแบบเครื่องประดับที่เสริมสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกลุ่มคนข้ามเพศ (กะเทย). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
พระวิทูร ญาณธัมโม. (2555). ศึกษาพฤติกรรมด้านความกตัญญูต่อบิดาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองช้าง ตําบลเขวาทุ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
ภคพล เส้นขาว. (2563). การเลือกปฏิบัติต่อสตรีข้ามเพศในสังคมไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 39 (1), 149-168.
รณภูมิ สามัคคีคารมย์. (2562). พฤติกรรมการใช้ยาฮอร์โมนในกลุ่มนักศึกษาสาวประเภทสองในมหาวิทยาลัยกำกับรัฐและเอกชน. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 15(1), 48-66.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2559). คุณภาพชีวิตต่างวัยของผู้มีงานทำ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2565). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
รัตนวัฒน์ จันทร์อำนวยสุข. (2561). การเคารพคนข้ามเพศเปรียบเทียบกับการเกลียดกลัวคนข้าม เพศในประเทศ. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย.
รุจิราภรณ์ นาแข็งฤทธิ์. (2558). ความเป็นธรรมของระบบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
วีระยุทธ ลาสงยาง. (2557). ความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของแรงงานในระบบในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(1), 122-144.
เสกสรร สายสีสด และคณะ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิต (Lifestyles) และความ พึงพอใจในการดำรงชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. 3(1), 1-16.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2564). ทำความเข้าใจ "กลุ่มคนข้ามเพศ" พบในอดีตอายุสั้น -ป่วยโรคซึมเศร้าสูง. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/310779
Leighton, M. B. (2013, abstract). Trans women and aging: A qualitative study. Master's
Theses and Capstones. 791. Master of Science: University of New Hampshire.
Pravattiyagul, J. 2018. Abstract. Street and State Discrimination: Thai Transgender
Women in Europe. Master Thesis: Utrecht University and University of Hamburg.