การประเมินผลการดำเนินการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

สุกัญญา นิมิตวิไล, ปราณีรัตน์ ปานประณีต, วรรณนิภา วงค์ปัญญา, ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์, และ สุริยงค์ ลิ้มสังกาศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ  1. เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรของนักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต และคณาจารย์ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการผลิตบัณฑิตของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. บัณฑิตของหลักสูตรศิลป-ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรามคําแหง จำนวน 155 คน 2. นักศึกษาปัจจุบันของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรามคําแหง จำนวน 263 คน 3. อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนกระบวนวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรามคําแหง จำนวน 7 คน และ 4. ผู้ใช้บัณฑิตของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรามคําแหง จำนวน 60 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิจัยนี้ประยุกต์รูปแบบการประเมินหลักสูตร CIPP ของ Stufflebeam และ Corny (2014) ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและนำเสนอผลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.25, S.D. = 0.81) ด้านกระบวนการเรียนการสอนประเด็นคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรและสื่อการสอนและสิ่งสนับสนุน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.32, S.D. =0.64) และระดับปานกลาง (x̅ =3.46, S.D. =0.98) ตามลำดับ ผลวิจัยด้านความเหมาะสมในการวัดผลชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.11, S.D. =0.77) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ของบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ =4.42, S.D. =0.34)  นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การปรับปรุงวิชาเอกบังคับ 2. การปรับปรุงการจัดหมวดหมู่รายวิชา และ      3. การตั้งชื่อรายวิชาตลอดจนคำอธิบายรายวิชา

Article Details

How to Cite
สุกัญญา นิมิตวิไล, ปราณีรัตน์ ปานประณีต, วรรณนิภา วงค์ปัญญา, ฐิติรัตน์ ภู่กาญจน์, และ สุริยงค์ ลิ้มสังกาศ. (2023). การประเมินผลการดำเนินการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 42(1), 133–152. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/269893
บท
บทความวิจัย

References

ชลชลิตา แตงนารา. (2562). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (5 ปี) (หลักสูตร ปรับปรุง 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 17(1), 36-52.

พงศธร มหาวิจิตร. (2561). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ). วารสารศึกษาศาสตร์, 29(1), 98-111.

วชิระ จันทรราช. (2554). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3(1-2), 64–78.

Best, J. W. (1981). Research in education (3rd ed.). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. In T. Kellaghan & D. L. Stufflebeam (Eds.), International handbook of educational evaluation, (pp. 31–62). Norwell, MA: Kluwer.

Stufflebeam, D.L. & Corny, C.L.S. (2014). Evaluation theory, models, and applications (2nd ed.). San Francisco, CA: Jossy-Bass.