การแสดงท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้าประกอบการใช้วัจนกรรม กลุ่มแสดงความรู้สึกในภาษารัสเซียบนสื่อสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษารายการสัมภาษณ์ А поговорить? บน YouTube
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จำแนกประเภทวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกที่แขกรับเชิญใช้ในรายการสัมภาษณ์ А поговорить? 2) วิเคราะห์การแสดงท่าทางและการแสดงออกทาง สีหน้าที่แขกรับเชิญใช้ประกอบการแสดงวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกประเภทต่าง ๆ ในรายการสัมภาษณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแขกรับเชิญในรายการสัมภาษณ์ А поговорить? ซึ่งออกอากาศบน YouTube ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2564 ทั้งสิ้น 12 ตอน เป็นตอนที่แขกรับเชิญมีช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี แบ่งเป็นผู้หญิง 6 คน และผู้ชาย 6 คน ผู้วิจัยศึกษาเรื่องดังกล่าวโดยใช้แนวคิดเรื่องการจำแนกประเภทวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกของ Norrick (1978), Трофимова (2008) และ Guiraud et al. (2011) และแนวคิดเรื่องการใช้อวัยวะ ในการแสดงท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้าในวัฒนธรรมรัสเซียของ Акишина & Кано (2015) ผลการศึกษาพบวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก จำนวนทั้งสิ้น 111 ถ้อยคำ แบ่งเป็น 12 ประเภท เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) การแสดงความเศร้าโศก 2) การแสดงความเห็นด้วย 3) การแสดงความรู้สึกชอบ 4) การแสดงความปีติยินดี 5) การแสดงความรู้สึกไม่ชอบ 6) การแสดงความไม่เห็นด้วย 7) การขอบคุณ 8) การชมเชย 9) การแสดงความรู้สึกกังวล 10) การอวยพร 11) การทักทาย และ 12) การขอโทษ สำหรับผลการศึกษาเรื่องการแสดงท่าทางประกอบการใช้วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก ปรากฏการใช้อวัยวะเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ศีรษะและลำคอ 2) ลำตัว 3) มือและแขน 4) ฝ่ามือ 5) หัวไหล่ 6) มือ นิ้วมือ และกำปั้น ในขณะที่ผลการศึกษาเรื่องการแสดงออกทาง สีหน้าประกอบการใช้วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก ปรากฏการใช้อวัยวะเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ดวงตาและเปลือกตา 2) ริมฝีปากและมุมปาก 3) คิ้ว 4) ช่องปาก 5) ฟัน อนึ่ง ผลการวิจัยจากงานวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยมุ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษารัสเซียในฐานะภาษาต่างประเทศ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในกระบวนวิชา RUS3701 ภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
จริยา เสียงเย็น, และสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2560). การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุใน
ภาษาผู้ไทกะป๋อง จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 251-268. ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/85516/68034
ภากิตติ์ ตรีสุกล. (2551). หลักนิเทศศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา.
Boucher, J. & Osgood, C. E. (1969). The Pollyanna hypothesis. Journal of Verbal
Learning and Verbal Behavior, 8(1), 1-8. Retrieved October 23, 2022, from https://doi.org/10.1016/S0022-5371(69)80002-2
Carretero, M., Maíz-Arévalo, C., & Martínez, M. Á. (2015). An Analysis of Expressive
Speech Acts in Online Task-oriented Interaction by University Students. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 170, 186-190. Retrieved April 12, 2022, from https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2015.02.051
Collins Dictionary. (2007). Definition of concern from the Collins English Dictionary. Retrieved June 03, 2022, from https://www.collinsdictionary.com/dictionary/english/concern
Collins Dictionary. (2007). Definition of dislike from the Collins English Dictionary. Retrieved June 05, 2022, from https://www.collinsdictionary.com/dictionary/english/dislike
Guiraud, N., Longin, D., Lorini, E., Pesty, S., & Rivière, J. (2011). The face of emotions: A logical formalization of expressive speech acts. In K. P. Tumer, L. Yolum, L. Sonenberg & P. Stone (Eds.). Proceedings of the 10th International Conference on Autonomous Agents and Multiagent Systems-Volume 3 (pp. 1031-1038). Richland. SC: International Foundation for Autonomous Agents and Multiagent System. Retrieved November 20, 2020, from https://www.ifaamas.org/Proceedings/aamas2011/papers/D7_G78.pdf
Maíz-Arévalo, C. (2017). Expressive Speech Acts in Education e-chats. Sociocultural Pragmatics, 5(2), 1-28. Retrieved December 5, 2020, from
https://doi.org/10.1515/soprag-2017-0016
Ronan, P. (2015). Categorizing expressive speech acts in the pragmatically annotated SPICE Ireland corpus. ICAME Journal, 39(1), 25-45. Retrieved December 3, 2020, from
https://doi.org/10.1515/icame-2015-0002
Widyowati, N. (2019). An analysis of the expressive speech acts used by John and
Savannah as the main characters in Dear John movie. JELLT. Journal of English Language and Language Teaching, 3(1), 59-67. Retrieved November 29, 2022, from https://doi.org/10.36597/jellt.v3i1.4484
Акишина, А. А. & Кано, Х. (2015). Словарь русских жестов и
мимики. Москва: Русский язык.
А поговорить? (2017, 13 октября) Плейлисты [Канал на YouTube].
YouTube. Дата обращения 2 июня 2021, по https://www.youtube.com/@apogovorit/playlists
Бутовская, М. Л. (2004). Язык тела: природа и культура.
(эволюционные и кросс-культурные основы невербальной коммуникации человека). Москва: Научный мир.
Которова, Е. Г. (2015). Выражение извинения в русском и немецком дискурсе: прагматический лингвоструктурный аспект. Томский
журнал ЛИНГ и АНТР, 8(2), 35-48. Дата обращения 12 декабря 2020, по
Мощева, С. В. (2015). Экспрессивные речевые акты в медиакоммуникации
(на материале коммерческой рекламы). Вестник ЮУрГУ. Серия «Лингвистика», 12(4), 45-48. Дата обращения 28 ноября 2020, по https://sciup.org/147153980
Трофимова, Н. А. (2008). Экспрессивные речевые акты в диалогическом дискурсе. Семантический, прагматический, грамматический анализ: Монография. Санкт-Петербург: Изд-во ВВМ.