ภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านมุมมองเครื่องแต่งกายใน กลกิโมโน ของพงศกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ผ่านมุมมองเครื่องแต่งกายในวรรณกรรม เรื่อง กลกิโมโน ของ พงศกร เลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่นำเสนอเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้แนวคิด
ภาพแทน (Representation) ของ สจ๊วต ฮอลล์ และแนวคิดสัญญะ (Sign) ของ โรล็องด์ บาร์ตส์
เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ผลการวิจัยพบว่า พงศกรประกอบสร้างความหมายทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านชุดกิโมโน
โดยอธิบายภาพแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านมุมมองเครื่องแต่งกาย ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของระบบชนชั้นที่มีการแบ่งอำนาจผ่านลวดลายชุดกิโมโน และยังประกอบสร้างความหมายวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านสีสันของผ้ากิโมโนโดยแบ่งนัยตามสี เพศ และสถานะบุคคล พบสัญญะ 3 สัญญะ คือ ลวดลาย
นกกระเรียน สื่อสัญญะความเป็นมนุษย์ที่มีสุขภาพดี อายุยืนยาว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง มีบารมีอำนาจ ลวดลายดอกเบญจมาศ สื่อสัญญะการมีอายุยืนยาว และลวดลายผีเสื้อ สื่อสัญญะ
ความสวยงาม มั่นคงในรักแท้ นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้ประวัติศาสตร์การทอผ้ากิโมโนเป็นกลไกการประกอบสร้างกิโมโนให้มีอิทธิพลต่อสังคมญี่ปุ่นที่สืบตระกูลมิยาคาวะ รวมทั้งการคัดสรรเส้นไหม เทคนิคการทอผ้า ลวดลาย และสีสันที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน เป็นการสืบทอด
อัตลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นที่มีความละเอียดแตกต่างจากชาติอื่น นอกจากนี้ ยังนำเสนอประเพณี
การแต่งงานของญี่ปุ่นที่เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมของญี่ปุ่นโดยสวมชุดกิโมโน และเป็นการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน ชุดกิโมโนจึงเป็นเครื่องแต่งกายที่มีความหมายและมีคุณค่า
ต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นอย่างมากและเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของญี่ปุ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
กิโมโนแต่ละลายมีความหมายสุดพิเศษแอบแฝง (2561). สืบค้นจาก: https://www.th-
kyotooike.yumeyakata.com/post/2018/05/13/ท-จร-งแล-ว-ลายของก-โมโนน-นม-
ความหมาย คำอธ-ษฐานท-แอบแฝงอย. 13 พฤษภาคม 2561
กิ่งผกา อังกาบ. (2562). มิติทางวัฒนธรรมผ่านผืนผ้าใน นวนิยายชุด “ผ้า” ของพงศกร
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1) 81-116.
ณัฐฐา ศรีแสง. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องแต่งกายของสตรีชาวญี่ปุ่นผ่านอุคิโยเอะในสมัย เอโดะจนถึงสมัยเมจิ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1603-ค.ศ.1912). สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปภัสวลัญช์ นพวงศ์ ณ อยุธยา และสุภาลักษณ์ อินทร์ตา. (2565). เล่ห์ลุนตยา: กลวิธีการ ประพันธ์และบทบาทการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในวัฒนธรรมพม่า. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 16(3), 176-184.
พงศกร จินดาวัฒนะ. (2557). กลกิโมโน กรุงเทพมหานคร: บริษัท กรุ๊ฟ พับลิชชิ่ง จำกัด.
ยุพา คลังสุวรรณ. (2547). ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยความจงรักภักดี ภูมิหลังทางวัฒนธรรมของ สังคมญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
______. (2545). การแต่งกายของคนญี่ปุ่น: จากยุคหินใหม่จนถึงสมัยเมจิ. วารสารญี่ปุ่น ศึกษาธรรมศาสตร์. 21(2), 31-52.
วันชนะ ทองคำเภา. (2554). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). อ่านเมือง เรื่องคนกรุง วรรณกรรม วิถีความสัมพันธ์
และภาพแทนของพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หวง หยวนหยวน และธนพร หมูคำ. (2564). ภาพแทนวัฒนธรรมจีนผ่านเครื่องแต่งกาย
ที่ปรากฏในนวนิยาย เรื่อง "กี่เพ้า" ของ พงศกร วารสารรามคำแหง ฉบับ มนุษยศาสตร์. 40(2), 1-20.
เอกนรี พรปรีดา. (2558). เกอิชา ดอกไม้ในโลกของต้นหลิว. กรุงเทพฯ: กอแก้ว.