การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว
2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ได้เรียนรู้จากหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวและ 3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา ต่อหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษา ชั้นปี่ที่ 3 สาขาวิชาภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจังหวัดยะลา ที่กำลังศึกษา
ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 ในรายวิชาภาษาอาหรับเพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 40 คน
โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ
1) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวที่ผู้วิจัย
ได้พัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้หนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว
3) แบบสอบถามความพึงพอต่อการใช้หนังสือ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพของหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว อยู่ในระดับ ดี คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 2) ผลการทดลอง
ใช้หนังสือเล่มนี้กับนักศึกษาจำนวน 40 คน พบว่า ผลสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าผลสอบก่อนเรียน อยู่ที่ร้อยละ 67 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหนังสือในการพัฒนาทักษะภาษาอาหรับของผู้เรียน
3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหนังสือภาษาอาหรับถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวโดยรวม อยู่ในระดับมาก
โดยที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 คิดเป็นร้อยละ 86.6
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานประจำปี 2559. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กิดานันท์ มลิทอง. (2548) เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพ: อรุณการพิมพ์.
ไกรพ เจริญโสภา. (2554). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ e-book วิชาการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับนักศึกษา
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา
จิระพันธ์ เดมะ. (2545).หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Electronic Book, วิทยบริการ. 13(1)
ซอและห์ มูฮิบบุดดิน อะห์หมัด (1998) หลักการสอนภาษาอาหรับ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงริยาด: สำนักพิมพ์ดารฮุดา
ตออีมะห์ รุสดี อะห์หมัด (1998) การออกแบบหลักสูตรการสอนภาษาอาหรับ. กรุงไคโร: สำนักพิมพ์ดารุลฟิกร
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562).รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2562. กรุงเทพมหานคร
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้ า. (2551). e-book หนังสือพูดได้.กรุงเทพมหานคร: ฐานบุ๊คส์.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
รอมยี มอหิ.(2560).การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับโดยใช้นวัตกรรมหนังสือการ์ตูนที่บูรณาการกับวัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนใต้กรณีศึกษา : โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วิลดา ศรีทองกุล. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีที่16 ฉบับที่ 1
สาริกา ค้าสุวรรณ.(2559) พฤติกรรมการใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากตะวันออกกลาง มุมมองจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 4(9). 25-39
สิริภัทร เมืองแก้ว และกุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2(1)
สิรินธร วชัรพืชผลและจงกล จันทร์เรือง.(2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเทคนิคการเรียนรู้แบบปรับเหมาะกับความสามารถของนักเรียน. การประชุมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ครั้งที่ 11.
สุจิรา จิรจรัสตระกูล. (2552). การสร้างหนังสือการ์ตูนเพื่อส่งเสริมการอ่านและเขียนคำยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (ประถมศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุทิน โรจน์ประเสริฐ. (2552). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพโฆษณา:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุรัสวดี นราพงศ์เกษม (2559). ผลการสร้างหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเยาวชนมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ ในเอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559. วันที่ 24-26 เมษายน 2559 หน้า 382-389 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Barker, Philip. (1992). Electronic Books and Libraries of the Future, The Electronic Library. 10(July 1992): 139-149.
Barker, Philip and Manji, Karim. (1992). Designing Electronic Books, Educational and Training Technology International. 28 (November, 1991): 272-280.
Basyar Ahmad Timur. (2019) Arab dialect. York House: UK.
Dick W. & Carey. (1996). The Systematic Design of Instruction, 4th Ed. New York: Haper Collins College Publishers.
Dulyawit. (2018). The insight of language community into teaching Arabic language: The issue of diglossia. The proceeding report in human science and social science 12th : 39-56. Faculty of Humanity, Ramkhamhaeng University.
Romyi.(2017) .Student’s needs of pursuing higher education in Arabic language program in three Southern provinces of Thailand, 2016-2017 A.D. In The 4th YRU national and international conference in Islamic education and educational development (The 4th YRU-IEED 2017: Future and challenge) :761-773
Wilailak Wisatrat,Dulyawit Naknawa.(2022).The Approach to Develop Arabic Learning for General Speaker: a Synthesis from Arabic Learning Handbook for Ordinary People, Journal of Letters Volume 52 Number 1 (December 2022) : 86 - 103