การสักยันต์ในฐานะซอฟต์พาวเวอร์ของไทย

Main Article Content

กฤษฎา พรหมเวค และปรัชญา ชุ่มนาเสียว

บทคัดย่อ

การสักยันต์เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
มโนทัศน์ของศาสตราจารย์โจเซฟ ไนย์ถูกนำมาใช้อธิบายมูลเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกา
ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำโลกซึ่งเกิดขึ้นเพราะการสร้าง ‘ความดึงดูด’ มิใช่จากอำนาจ
ทางเศรษฐกิจและการทหารเพียงอย่างเดียว ตลอดระยะเวลานานมากกว่า 100 ปีการสักยันต์ไทย
ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบ วิธี ลวดลาย ตลอดจนความหมายของรอยสัก
ได้เปลี่ยนแปลงตามความเชื่อของผู้คนในแต่ละยุคสมัยซึ่งตอบโจทย์ทั้งในแง่ความเชื่อ
และความสวยงาม ช่วยให้การสักยันต์ของไทยมีชื่อเสียงอย่างก้าวกระโดด โดยหากต้องการให้
การสักยันต์สามารถเป็นสื่อกลางทางวัฒนธรรม เพื่อแทรกซึมชุดความคิดและภาพลักษณ์
การสักยันต์ไทยให้ทั่วโลกจดจำ จะต้องมีการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบและกำหนดเป้าหมาย
ที่ชัดเจนในระยะยาว ดังนี้ 1) สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการสักยันต์ไทย 2) พัฒนาศิลปะ
และการออกแบบลายสักยันต์ให้สวยงามและร่วมสมัย 3) การขยายฐานกลุ่มเป้าหมายผู้สักยันต์
4) สร้างเทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยว และ 5) บริหารจัดการการสักยันต์ให้มีมาตรฐานและคุณภาพและเป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). “สักยันต์ไทย” หมุดหมายชาวต่างชาติที่หลงใหลในรอยสัก.” สืบค้น

กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1112933

กฤชพนธ์ ศรีอ่วม. (2564). การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤตพร แซ่อึ๊ง. (2562). นโยบาย Soft power กับการส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ค.ศ.1997-ปัจจุบัน. (บทความวิจัย ปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2562/history/05590554.pdf

กุลธีรา อุดมพงศ์วัฒนา, จาริณี ตาพันไกล, ชนกนาถ ไชยพรหม และประสพชัย พสุนนท์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการสักยันต์: กรณีศึกษาผู้มาสักยันต์กับอาจารย์เอื้อ วัดหนองอ้อ อำเภอ

โพธารามจังหวัดราชบุรี. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554. น. 588 – 594 อุดรธานี: สำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชลพรรษ ดวงนภา. (2553). รอยสัก: จากความเชื่อ...สู่แฟชั่น. ตราด: สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด.

ณัฏฐณิชชา ภูวสิริโรจน. (2563). นโยบาย Cool Japan กับการสงเสริมเศรษฐกิจประเทศญี่ปุน.

(สารนิพนธ ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้น

กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2563/social/05600687.pdf

ไทยรัฐ. (2567). “สักยันต์ จีนนิยมพุทธคุณ ยุโรปหลงใหลศิลปะ ซอฟต์พาวเวอร์ไทยเดินสายทั่วโลก”. สืบค้น 27กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2762687?gallery_id=3

ไทยรัฐออนไลน์, (2561). “ดันสักยันต์ไทยโกอินเตอร์ เผยค่าสักแพงสุดในโลกภาพละ 3 แสน.” สืบค้น 15 มิถุนายน 2567. จาก https://www.thairath.co.th/news/local/south/1229037

นิศรา ชัยเขียว. (2566). “การจัดการความรู้ด้าน Soft Power ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม”. สืบค้น 15 มิถุนายน 2567. จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2566_ 1693540056_6414832061.pdf

พนธกร วรภมรและนณริฏ พิศลยบุตร. (2565), “Soft power ไทย เหตุใดจึงยังไม่เวิร์ค”. TDRI. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://tdri.or.th/2022/04/soft-power-thai/

พรรษา เครือคล้ายและนพดล อินทร์จันทร์. (2565). “การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลายยันต์ไทย สำหรับกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย”. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 5(1): 72 – 81.

พระอธิการอาทิตย์ อาทโร (เกิดแจ่ม) (2565). กุศโลบายในการสอนธรรมจากการสักยันต์ในสังคมไทย.(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการอาทิตย์ อาทโรและพระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร. (2566). “กุศโลบายในการสอนธรรมจากการสักยันต์ในสังคมไทย”. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 9(1): 13 – 22.

พูนทรัพย์ โพธิ์พันธุ์.(2549). การศึกษาเรื่องการสักของคนไทยสมัยอยุธยาถึงสมัยรัชกาลที่ 5

(พ.ศ.1893 – 2453). (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทรพร รักเปี่ยม. 2566. “จุฬาฯ ชูธงร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย Soft Power ไทยผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม แนะ 2ท. หนุนพลังวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง”. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2567 จากhttps://www.chula.ac.th/highlight/132705/

มณิสร วรรณศิริกุล และสิทธิเดช มั่นทอง.(2563). “อักษรกำกับยันต์ ยันต์กำกับคน”. สืบค้น

กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://nisitjournal.press/2020/11/03/sak-yant-tattoo/

วรรณนิภา ชวนชม. (2553). ความเชื่อเรื่องการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง: ศึกษากรณีสำนักยันต์อาจารย์หนูกันภัย. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรรณิภา ชวนชม, บุญยง ชื่นสุวิมล และนิติ ภวัครพันธุ์. (2554). “ทุนและพื้นที่: ศึกษากรณีการก่อตัวของกลุ่มสักยันต์ห้าแถวหนุนดวงในกรุงเทพมหานคร”. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

(1): 100 – 108.

วัจนพล ศรีชุมพวง. (2566). สักยันต์และเครื่องรางของขลัง ความเชื่อจากโบราณกาล. สืบค้น

กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.benarnews.org/thai/news/th-ss-belief-tattoos-09202023141336.html

วัชรัศน์ ศรีวิริยะกิจ. (2553). “รอยสัก” ศิลปะบนเรือนร่างของมนุษย์”. วารสารพิกุล. 8(1) : 39-63.

หลิว ฉิน และ ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2566). “การศึกษาเปรียบเทียบยันต์ไทยในประเทศไทยกับยันต์ฮู้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน”. ในวิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ (บ.ก.), รายงานสืบเนื่องจากการประชุม การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14. น. 769 – 783. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

อนุรักษ์ บรรดาศักดิ์. (2567). เจาะลึกความสำเร็จ “Soft Power”เกาหลีใต้ พร้อมใช้เป็นโมเดลในการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้น 15 มิถุนายน 2567 จาก https://tja.or.th/view/tjacyberreporter/hi-ligth-news/1450071

อมรินทร์ ทีวี. (2567).“เมื่อนิยาม Soft Power กลายเป็นคําถามใหญ่ในสังคม เปิด 4 มุมมอง Soft Power คืออะไร”. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.amarintv.com/spotlight/insight/ detail/58620

BrandAge Online. (2567). “สักยันต์” อีกมุมนึงใน Soft Power ที่โด่งดังข้ามประเทศ จนต่างชาติจองคิวกันล้มหลามข้ามปี. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.brandage.com/article/37902

Liu, Q. (2565). รูปแบบและความเชื่อการสักยันต์ไทยของกลุ่มชาวจีนในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Nye, J. S. Jr. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York, USA: Public Affairs.

Varichviralya Srisai, (2566). “ข้าวไข่เจียวกุ้งพันล้านสตรีม กับ 20 ซอฟต์พาวเวอร์ไทยที่ ‘ลิซ่า’ ดันให้…ปังทั่วโลก!” สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.lips-mag.com/lisa-blackpink-soft-power/