การศึกษาเปรียบเทียบดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความภาษาสเปน และภาษาไทยในตัวบทเชิงอธิบายให้ข้อมูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาการใช้ดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความภาษาสเปน
และภาษาไทยในตัวบทเชิงอธิบายให้ข้อมูลตามเกณฑ์ของ Martín Zorraquino and Portolés (1999)
ซึ่งจำแนกดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความออกเป็น 3 กลุ่มย่อย อันได้แก่ ดัชนีปริจเฉทบ่งชี้
การจัดลำดับ ดัชนีปริจเฉทบ่งชี้เนื้อความ และดัชนีปริจเฉทบ่งชี้การเบี่ยงประเด็น การศึกษาดังกล่าวนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ว่าในภาษาสเปนและภาษาไทยมีการใช้ดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรในด้านของดัชนีปริจเฉทที่ใช้และความถี่ และ (2) เปรียบเทียบว่าดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความภาษาสเปนและภาษาไทยมีความหมายและหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยบทความเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จำนวน 50 บทความ แบ่งออกเป็นบทความภาษาสเปนจากนิตยสาร Muyinteresante จำนวน 25 บทความ และบทความภาษาไทยจากนิตยสารสาระวิทย์ ของ สวทช. จำนวน 25 บทความ ดัชนีปริจเฉทจัดการโครงสร้างความที่ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 27 ดัชนี แบ่งเป็นดัชนีปริจเฉทภาษาสเปนจำนวน 18 ดัชนี และดัชนีปริจเฉทภาษาไทยจำนวน 9 ดัชนี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
กัลยาณี กฤตโตปการกิต. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบดัชนีปริจเฉทภาษาจีนกับภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา, 11(2), 66-101.
เทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2543). หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัทธ์ชนัน เยาวพัฒน์. (2551). พัฒนาการของพหุหน้าที่ของคำว่า “ซึ่ง” ในภาษาไทย [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรริน สิมมา. (2557). หน้าที่ของคำว่า “ซึ่ง” ในระดับปริจเฉท. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 33(1), 1-22.
วิยะดา ตานี. (2544). การเชื่อมโยงความในจารึกสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2544. https://dictionary.orst.go.th/
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2522). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Chanawangsa, W. (1986). Cohesion in Thai [Unpublished doctoral dessertation]. Georgetown University.
Domínguez García, M. N. (2010). Los marcadores del discurso y los tipos textuales. In O. Loureda Lamas & E. Acín Villa (Eds.), Los estudios sobre marcadores del discurso en español, hoy (pp. 359–413). Arco Libros.
Domínguez García, M. N. (2011). Comentadores del discurso. In R. González Ruiz & C. Llamas Saíz (Eds.), Gramática y discurso. Nuevas aportaciones sobre partículas discursivas del español (pp. 39–56). EUNSA.
Domínguez García, M. N. (2016). Organizadores del discurso. Arco Libros.
Flores Requejo, M. J. (2008). Los marcadores del discurso en el español peninsular y sus equivalencias en italiano, 1. Aracne Editrice.
Fuentes Rodríguez, C. (2009). Diccionario de conectores y operadores del español. Arco Libros.
Garcés Gómez, M. P. (2008). La organización del discurso: marcadores de ordenación y de reformulación. Iberoamericana/Vervuert.
Gutiérrez Ordóñez. (2000). Temas, remas, focos, tópicos y comentarios (2nd ed.). Arco Libros.
Halliday, M. A. K., & Hasan, R. (1976). Cohesion in English. Longman.
Martín Zorraquino, M. A., & Portolés, J. (1999). Los marcadores del discurso. In I. Bosque & V. Demonte (Eds.), Gramática descriptiva de la lengua española (pp. 4051–4213). Espasa Calpe.
Massouo Bale, J. (2010). Los marcadores de discurso de digresión en español actual [Unpublished doctoral dessertation]. Complutense University of Madrid.
Permpikul, Chotiros. (1999). A comparative analysis of Thai and English contrastive discourse markers: with a discussion of the pedagogical implications [Unpublished doctoral dessertation]. Boston University.
Portolés, J. (2010). Los marcadores del discurso y la estructura informativa. In Ó. Loureda Lamas & E. Acín Villa (Eds.), Los estudios sobre marcadores del discurso en español, hoy (pp. 281–325). Arco Libros.
Santos Río, L. (2003). Diccionario de partículas. Luso-Española de Ediciones.
Schiffrin, D. (1987). Discourse markers. University Press.
Silva Fernandes, I. C. (2005). Los marcadores discursivos en la argumentación escrita: estudio comparado en el español de España y en el portugués de Brasil [Unpublished doctoral dessertation]. University of Salamanca.
Simma, P. (2013). Los conectores en español y en tailandés: estudio contrastivo en el texto argumentativo [Unpublished doctoral dissertation]. University of Salamanca.