พฤติกรรมการรับฟังและความพึงพอใจต่อรายการและเทคนิคของสถานี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย Listening Behaviors and Satisfactions on Radio Programs and Techniques of Thailand National Radio Station
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการรับฟังและความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อรายการและเทคนิคของ “วิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ระบบ เอฟ เอ็ม ความถี่ 92.5 เม็กกะเฮิร์ตซ์ และระบบเอ เอ็ม ความถี่ 891 กิโลเฮิร์ตซ์” 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคมกับพฤติกรรมการรับฟัง 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจของผู้ฟังที่มีต่อรายการและเทคนิค การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่ฟังรายการของ “วิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ระบบ เอฟ เอ็ม ความถี่ 92.5 เม็กกะเฮิร์ตซ์ และระบบเอ เอ็ม ความถี่ 891 กิโลเฮิร์ตซ์” ในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 1,030 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ ไค-สแควร์ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการศึกษาสรุปว่า 1) โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามรับฟังรายการนาน ๆ ครั้ง มักฟังช่วงเวลา 19.00 - 23.00 น. และส่วนใหญ่ฟังรายการข่าวภาคบังคับ (07.00 น.และ19.00 น.) มักรับฟังรายการที่บ้านหรือขณะขับรถ พฤติกรรมการรับฟังส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ ความพึงพอใจต่อรายการอยู่ในระดับมากและต่อเทคนิคอยู่ในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมการรับฟังไม่มีความสัมพันธ์กับเพศแต่มีความสัมพันธ์กับอายุ อาชีพ การศึกษาและรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้ฟังต่อรายการและเทคนิคไม่มีความแตกต่างกันตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษาและรายได้
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1) to explore audiences’ listening behaviors and satisfaction levels on radio programs and techniques of Thailand National Radio stations (FM 92.5 MHz & AM 891 KHz); 2) to examine relationships between demography and listening behaviors and 3) to examine differences of audience’s satisfaction on programs and techniques. This was a survey research that included 1,030 people who listened to the National Radio (FM 92.5 MHz & AM 891 KHz) in 17 provinces and were selected by purposive sampling. The research used descriptive statistics (percentage, average and standard deviation) and inferential statistics (chi-square, t-test and F-test or ANOVA) in order to analyze the data.
The findings were as summarized as follows. 1) In general, respondents rarely listened to the National Radio stations. Most of them listened to the News programs (7.00 am. and 7.00 pm.) at homes or driving. The level of listening behaviors was low, satisfaction of programs was high and satisfaction of technique was fair. 2) Audience’s demography regarding age, occupation, education and income were related to the level of listening behaviors significantly at 0.05. 3) There were not significantly differences between the level of audience’s satisfaction and demography regarding gender, age, occupation, education and income at 0.05.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร