รูปแบบการจัดการหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มรัตนโกสินทร์ Management Model for Information Technology Offices of Rajabhat Universities in Rattanakosin Group

Main Article Content

ศุภโยธิน ณ สงขลา
ดร.กุสุมา ผลาพรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มรัตนโกสินทร์ และ 2) ทดสอบการยอมรับรูปแบบการจัดการหน่วยงาน  การวิจัยนี้ใช้การสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิสามกลุ่มเป็นแนวทางในการได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการหน่วยงาน การทดสอบการยอมรับรูปแบบไปประยุกต์ใช้กระทำผ่านการหาค่าเฉลี่ยของการยอมรับของหน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการหน่วยงานตามมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิควรมุ่งเน้นศึกษา 1) การที่บุคลากรมีความรู้ ทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และทักษะที่จำเป็นต่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ 2) วัฒนธรรมการมีจิตสาธารณะ จิตบริการ และจิตสำนึกของผู้ประกอบการ  3) การจ้างงานช่วง และการมีกลไกการตรวจสอบการตัดสินใจของผู้รับมอบอำนาจ 4) การใช้ทรัพยากรร่วมกันกับหน่วยงานอื่น 5) การใช้งบประมาณตรงตามแผนงานและสอดคล้องกับ ทิศทางการเติบโตของหน่วยงาน และ 6) การมีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการ การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการให้บริการการทดสอบความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นไปประยุกต์ใช้ พบว่าหน่วยงานทุกแห่งให้การยอมรับรูปแบบที่เสนอในระดับดี

                                                            

Abstract

This research aimed to 1) develop a management model for information technology offices of Rajabhat Universities in Rattanakosin group and 2) assess the offices’ acceptance of the proposed model.  Focus group interviews with three panels of experts were used as data collection tool.  Acceptance was assessed via mean score of acceptance.

The research found out that the model, according to the experts, should emphasize           1) promoting staffs’ basic and advanced knowledge and necessary skills required for providing efficient services; 2) promoting “for the public,” service, and entrepreneurial mindsets; 3) employing outsourcing in lieu of adding more staffs and having decision making check mechanism; 4) resources pooling; 5) spending budget in accordance with preset plans and direction; and 6) adding clients’ needs and satisfaction surveys and service process change plan as parts of service processes.  Subsequent acceptance assessment confirmed that the proposed model was acceptable.

Article Details

บท
บทความวิจัย