Epiphany of Womanhood: Ideational Transmission in Katherine Anne Porter’s The Grave จุดเปลี่ยนของสตรีเพศผ่านมุมมองของตัวละครหลักในนวนิยายขนาดสั้น เรื่อง The Grave

Main Article Content

เกรียงไกร วรรธนะเลาหะ

บทคัดย่อ

Abstract

A stylistic device specifically known as the transitivity model was introduced by M.A.K. Halliday to explain how language functions at the semantic level. In literary studies, the model is used to explain how meaning is represented in the clauses and is concerned with certain characters’ ideational transmission in the way they account for their worldview. This paper offers a crucial exploration of the model to Katherine Anne Porter’s celebrated short story   The Grave (1934). The protagonist, Miranda, has been analyzed through conventions of literary studies such as historicism or positivism, in which the holistic relationship between the protagonist and the author was subjected to intense scrutiny. As there are only a few studies bearing upon linguistic perspectives, this paper aims to study Miranda’s characterization through the means of stylistics and to ensure that a literary meaning can be cognitively transmitted within the text. The transitivity model will be applied to visualize an imperative turning point of Miranda’s characterization. To illustrate, it will be focused on two sections in the story, which occur around the climax, to underpin that the protagonist’s ideational processes are foregrounded as soon as Miranda’s ideational transmission is altered from  an  active  person to one with a more internalized characterization. This study also argues that a credible literary interpretation can be gained by the language itself, independent from secondary resources, provided that the linguistic system is thoroughly employed and analyzed.

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนมุมมองของตัวละครผ่านการวิเคราะห์ทางวัจนลีลาศาสตร์ด้วยทฤษฎีกริยาสัมพันธ์ (Transitivity Model) ที่ให้ความสนใจเฉพาะหน้าที่ของคำกริยาในระดับอรรถศาสตร์ ในแง่ของวรรณคดีศึกษา ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับการส่งกระบวนความคิด (Ideational Process) ของตัวละครผ่านการใช้คำกริยาหลักในแต่ละประโยคซึ่งทำให้สามารถรับรู้ได้ถึงมุมมองและกระบวนการวางบุคลิกตัวละครที่เกิดขึ้นในนวนิยาย บทความนี้ศึกษาการส่งผ่านกระบวนความคิดของตัวละครหลักเพศหญิง จากนวนิยายเรื่อง  The Grave   ซึ่งเป็น  นวนิยายขนาดสั้นและแต่งโดย Katherine Anne Porter เมื่อปี พ.ศ. 2477 การวิจารณ์วรรณกรรมเรื่องนี้ค่อนข้างแพร่หลายเนื่องจากเนื้อหาเรื่องนี้เน้นความสำคัญในเรื่องจิตใจของสตรีเพศ  ในฐานะภาพสะท้อนของสังคม อย่างไรก็ดี การวิจารณ์วรรณกรรมผ่านมุมมองทางภาษาศาสตร์ ยังไม่เป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น ดังนั้นบทความนี้จึงทำการวิเคราะห์นวนิยายด้วยทฤษฎีกริยาสัมพันธ์เพื่อดูถึงกระบวนการส่งผ่านความคิดของตัวละครหลักเพศหญิงในนวนิยายเรื่องนี้ บทความนี้สรุปว่า การใช้ทฤษฎีกริยาสัมพันธ์สามารถช่วยในการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องนี้ ได้อย่างมีระบบและสามารถให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในแง่ที่ว่าตัวละครหลักเพศหญิงได้มี  การเปลี่ยนแปลงความคิดในฐานะสตรีเพศระดับปริชาน เมื่อเผชิญหน้ากับจุดสูงสุดของเรื่อง  มิแรนด้าได้ผ่านกระบวนความคิดจากเด็กหญิงเป็นกุลสตรีในท้ายที่สุด การวิจารณ์วรรณกรรมผ่านมุมมองวัจนลีลาศาสตร์ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าการวิเคราะห์ตัวภาษาได้ช่วยเพิ่มแง่คิดทางวรรณกรรมที่ลึกซึ้งและยังให้น้ำหนักกับหน้าที่ของภาษาและบริบทที่สมดุล

Article Details

บท
บทความวิจัย