ความเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์พระเจ้าทันใจ: ศึกษาเฉพาะกรณี วัดยอดแก้วศรีบุญเรือง The Belief in Miracles “Phrajawtanjai”: A Case Study at Wat Yodkeawsiboonrung

Main Article Content

วิโรจ นาคชาตรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาถึงความเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์พระเจ้าทันใจ โดยการดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (1) การศึกษาจากเอกสารเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เพื่อค้นหาความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าทันใจจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ   (2) การศึกษาภาคสนาม เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ใช้การสังเกต (Observation Research) เก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการสร้างพระเจ้าทันใจ การสัมภาษณ์และการใช้แบบสอบถามพุทธศาสนิกชนจำนวน 100 ชุด ณ วัดยอดแก้วศรีบุญเรือง ตำบลท่าดอกคำ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้ผลสรุป ดังนี้

พระเจ้าทันใจ หมายถึง พระพุทธรูปที่สร้างเสร็จภายใน 1 วัน มีชื่อที่ใช้เรียกอื่น ๆ คือ “หลวงพ่อทันใจ” และ “พระทันใจ” เป็นการสร้างพระพุทธรูปที่ปรากฏในคติความเชื่อทางดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง “พระเจ้าทันใจ” ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ คนไทยภาคเหนือเชื่อว่า “พระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ขอพรได้ทันใจเหมือนชื่อพระพุทธรูป”

การศึกษาภาคสนาม พบว่า พุทธศาสนิกชน ที่เดินทางมาร่วมสร้างพระพุทธรูป มีความเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปมีอานิสงส์มาก สามารถช่วยให้พ้นจากความทุกข์ เมื่อตายไปแล้วก็ได้ขึ้นสวรรค์ อีกทั้งเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา สำหรับพระเจ้าทันใจสร้างสำเร็จใน 1 วันสามารถดลบันดาลในสิ่งที่อธิษฐานให้สมปรารถนาได้รวดเร็วทันใจ ที่สำคัญคือ ผู้สร้างพระเจ้าทันใจมุ่งมั่น

สร้างพระเจ้าทันใจเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ การสร้างพระเจ้าทันใจในครั้งนี้ สามารถทำสำเร็จได้รวดเร็วทันใจภายใน 1 วัน แสดงถึงความสามัคคีร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ชุมชน พระสงฆ์ ที่ถึงพร้อมด้วยความเชื่อมั่น ความตั้งใจควบคู่อธิษฐานจิต การรวมกำลังทรัพย์ กำลังแรงงานเพื่อร่วมสร้างพระเจ้าทันใจและแสดงถึงความเข้มแข็งของพุทธศาสนิกชนชุมชนบ้านฝอยลม

             การศึกษาจากแบบสอบถาม พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มาวัดมากกว่ากลุ่มอื่น มีอายุระหว่าง 50-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 38 และมีการศึกษาระดับประถมศึกษาถึง ร้อยละ 35 ผู้ร่วมสร้างพระเจ้าทันใจที่มาวัดมากกว่ากลุ่มอื่น คือ พ่อบ้าน-แม่บ้าน ร้อยละ 27  สำหรับรายได้ของผู้มาวัดที่มากกว่ากลุ่มอื่น คือ 10,000-14,999 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 27 พุทธศาสนิกชนที่มาวัดยอดแก้วศรีบุญเรืองรู้จักพระเจ้าทันใจครั้งแรก ร้อยละ 46 ในการบูชาพระเจ้าทันใจพุทธศาสนิกชนมีเป้าหมายเพื่อขอโชคลาภ ร้อยละ 42 และทำบุญตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ร้อยละ 35

ข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่ประเทศไทยถึงร้อยละ 77  เชื่อว่า  พระเจ้าทันใจทรงบันดาลตามคำอธิษฐาน ร้อยละ 73 และเชื่อว่าพระเจ้าทันใจทรงแสดงปาฏิหาริย์ถึง ร้อยละ 84 ที่สำคัญคือ ผู้ร่วมสร้างพระเจ้าทันใจ เชื่อเรื่องสวรรค์-นรก ร้อยละ 95 และเชื่อเรื่องบุญ-บาป ถึงร้อยละ 97 เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์เกิดจากการสวดมนต์ การปฏิบัติกรรมฐาน ร้อยละ 72 และเชื่อเรื่องกรรม ถึงร้อยละ 97 ที่สำคัญที่สุดคือพุทธศาสนิกชนที่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ และสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นผู้ที่เคร่งครัดในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรมในพระพุทธศาสนา คือ การรักษาศีล การปฏิบัติธรรม อันเป็นรากฐานความสงบสุขของสังคม

Abstract

This research aims to study the belief of Phrajawtanjai’s miracle. The process of this research is separated into two parts; 1) A study from the document by descriptive research is to find out the belief in Phrajawtanjai  image of the Intangible Cultural Heritage. And 2) Field studies as observation research, data collection on how to build  Phrajawtanjai  image, interviews and questionnaires with 100 Buddhists at Wat yodkeawsiboonrung Tambom Thadokkam Bueng KhongLong District BuengKan Province during September 2014. The findings were as follows:

Phrajawtanjai refers to the Buddha image which was built within 1 day. The other names used to call the image are: Luang Por Tan Jai and Phra Tan Jai. A Buddha image like this appears in the belief of people in northern Thailand and neighboring countries. People in northern Thailand believe that Phrajawtanjai is a holy Buddha image that can quickly bless them with any wishes they want.

From the field studies, it was found that Buddhists join to build this Buddha image because they believe that it is very virtue. And it can deliverance from suffering. They think after death they will go to heaven. Moreover, they believe that it will help promoting Buddhism existence, and they believe Phrajawtanjai will destine to accomplish what they want quickly. More importantly, the people who join to build Phrajawtanjai  image are committed to build this image to be a Buddhist symbol and a center of worship. Phrajawtanjai  image was built within one day because of the unity of the people and Buddhist monks that have confidence and determination and mental prayer. They gathered money and labor to build Phrajawtanjai  image which shows the strong belief of Buddhist at Ban Foilom community.

From the questionnaire, it was found that most Buddhists who came to the temple aged between 50-59 years old accounted for 38 percent and their education is primary level accounted for 35 percent. Most people who help building Phrajawtanjai image was househusband and house wife accounted for 27 percent. Most of their income was 10,000-14,999 Baht per month average accounted for 27 percent. Most people who came to the temple have known Phrajawtanjai  in the first time accounted for 46 percent. Most of them worship the image to gain good fortune accounted for 42 percent. The other aim to make a merit which follow the faith of Buddhism accounted for 35 percent.

An interesting discovery: The Buddhists believe that the Buddha had come to Thailand accounted for 77 percent, believe that Phrajawtanjai fulfill their wish accounted for 73 percent, believe that Phrajawtanjai  has showed the miracle accounted for 73 percent, importantly, the person who joined to build Phrajawtanjai  image believe in heaven – hell accounted for 95 percent, believe in merit – sin accounted for 97 percent, and believe in the miracle from praying and meditation accounted for 72 percent and believe in the dogma about karma accounted for 97 percent. The most important is the Buddhist believe in the miracle and the supernatural thing, they are strict in the way of ethics in Buddhism; maintaining the precepts and practicing themselves, which is a foundation for peace of society.

Article Details

บท
บทความวิจัย