สภาพการจัดการความรู้ของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง The Status of Knowledge Management of Ramkhamhaeng University Regional Campuses in Honour of His Majesty the King

Main Article Content

ดร. นารินี แสงสุข
ดร. นวลละออ แสงสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการปฏิบัติการจัดการความรู้ของบุคลากร สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง    3) เปรียบเทียบการปฏิบัติการจัดการความรู้ระหว่างบุคลากร สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีสถานภาพต่างกัน และ 4)  เปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มีสถานภาพแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 720 คน โดยใช้สูตรของ  Yamané  การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบหาค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe' s method)

ผลการวิจัย พบว่า

1.    ระดับการปฏิบัติการจัดการความรู้ของบุคลากรในภาพรวม และแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการสร้างความรู้ รองลงมา คือ ด้านการจัดเก็บความรู้ ด้านการกระจายความรู้ และด้านที่บุคลากร มีระดับการปฏิบัติการจัดการความรู้ ต่ำที่สุด คือ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้

             2.   ระดับการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในภาพรวม และแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการสร้างความรู้ รองลงมา คือ ด้านการจัดเก็บความรู้ และด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ต่ำที่สุด คือ ด้านการกระจายความรู้

             3.   การปฏิบัติการจัดการความรู้ระหว่างบุคลากร ที่มีเพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์เข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่แตกต่างกัน จะมีการปฏิบัติการในภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

             4.   การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ระหว่างนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่มี เพศ ชั้นปีที่ศึกษาแตกต่างกัน มีการรับรู้ในภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคณะที่ศึกษา และประสบการณ์เข้าร่วมการอบรม/สัมมนาแตกต่างกันจะมีการรับรู้แตกต่างที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Absteact

This research aimed 1) to determine the level of practicing the employees’ knowledge management at the regional campus in the Honors of  the Majesty of the King 2) to access the level the awareness of the knowledge management of graduate students in the Honors of the Majesty of the King 3) to compare the  employees’ knowledge management practice at the different demography such as gender, working position, studies level, training and seminar experiences  4) to compare  the awareness of the knowledge management at the different status of graduate students. Samplings were drawn from 720 samples comprising administrators, officials and graduate students. The study used rating scale questionnaire designed as the                 tool  for  data  collection.  Percentage, mean (), standard deviation (S.D.), t - test together with Scheffe' s method were used for data interpretation.

The findings of this research were concluded as follows.

1. The level of the employees’ knowledge management practice at a whole and at individual aspects was high. The highest averaged level was seen in the knowledge creation aspect was, followed by the knowledge storage aspect and the knowledge distribution aspect. On the other hand, the knowledge implementation or application was found the lowest. There was no statistically different significance at the 0.05 level.

2.  The graduate students’ level the awareness of the knowledge management as a whole and at individual aspect was high. The knowledge creation aspect was disclosed to be highest.  The second higher level, on average, consists of the knowledge storage, and the knowledge implication   or application respectively. However, the knowledge distribution aspect was found the lowest.  There was no difference of the perspective from the different genders and study levels; nevertheless, the graduate students from different faculties and seminar experiences had a statistically different significance at the 0.05 level as a whole aspect and at individual aspect.

3. The knowledge management practice among employees from different genders, working position, study levels, training and seminar experiences had no statistically different significance at the 0.05 level both as a whole and at individual aspects.

4.  There was no difference as a whole and at individual aspects in the awareness of the knowledge management from the graduate students with different genders and study levels, from which there was a statically different significance at the 0.05. 

For the whole aspect and in each of perspectives on knowledge management of the graduates different in gender, studies level has a statically different significance at the 0.05.  On the other hand, those who are differentiated in faculties and experiences has themselves a statistically different significance at the 0.05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย