การศึกษาวิเคราะห์เรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมรามคำแหงประจำปี 2555 The Analysis of Short Stories in the Finalist Ramkhamhaeng Award 2012

Main Article Content

ดร. สรตี ปรีชาปัญญากุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

รางวัลวรรณกรรมรามคำแหง เป็นการประกวดงานเขียนวรรณกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในประเภทเรื่องสั้น มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 84 ชิ้น เรื่องสั้นเหล่านี้มีกลการประพันธ์ที่หลากหลาย ทั้งยังสนับสนุนแนวคิดที่กล่าวว่า “วรรณกรรมเป็นกระจกสะท้อนสังคม” จึงมีภาพสะท้อนของสังคมในยุคปัจจุบันที่แสดงออกหลายประเด็น จากผลงานทั้งหมด คณะกรรมการได้คัดเลือกให้มีเรื่องสั้นผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวน 7 เรื่อง ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิเคราะห์ภาพสะท้อนจากเนื้อหาของเรื่องสั้นที่ปรากฏจากเรื่องสั้น

ภาพสะท้อนทางสังคมที่ปรากฏผ่านเรื่องสั้น ประกอบด้วยประเด็นสังคมเมือง ที่มุ่งประโยชน์ส่วนตัว ประเด็นทางเศรษฐกิจ ที่เป็นพื้นฐานความมั่นคงของชีวิต ประเด็นทางการเมือง ที่นักการเมืองยอมละทิ้งอุดมคติ และศักดิ์ศรีของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ ประเด็นแรงงานต่างด้าว เสียงสะท้อนจากมุมมองที่ไม่มีใครมองเห็นและไม่เคยได้ยิน ประเด็นครอบครัว ทั้งการเลี้ยงดู และการหย่าร้างของครอบครัว และประเด็นสังคมที่หล่อหลอมความคิด สังคมแวดล้อมที่ทำให้สมาชิกในบ้านเปลี่ยนแปลงทัศนคติไป ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้ เป็นภาพสะท้อนภาวะสังคม  ในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงในระบอบเศรษฐกิจ นำไปสู่สังคมในระบอบทุนนิยม

Abstract

             Ramkhamhaeng Award is the contest of creative literary works. This year, 84 short stories were sent in. Each one uses different techniques, but all support the idea of “Literature as mirror of society”.  Consequently, many current issues are reflected in these works. Then seven short stories are selected as the finalist.

                The reflections of social presence through these short stories are many issues: urban that aimed at personal gain, economic that is the basis of life, politically that the politicians refuse to renounce the ideals for their dignity benefit, foreign workers: voice of the sound that no one heard, family: the parenting and divorce and the idea that shaped by social. These issues are the reflection of current situation in society that change in the economy contribute to society in capitalism.

Article Details

บท
บทความวิจัย