สภาพสังคมที่สะท้อนในวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย Thai Society which is reflected in the study of Art History in Thailand

Main Article Content

ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาสภาพสังคมไทยโดยวิเคราะห์ผ่านความเปลี่ยนแปลงของวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า การศึกษาสภาพสังคมไทยผ่านงานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ (1) การศึกษาสภาพสังคมผ่านงานศิลปะที่ปรากฏในจารึกและตำนาน แสดงให้เห็นว่าวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในช่วงก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 สัมพันธ์กับสภาพสังคมที่ยึดมั่นความเชื่อทางศาสนา (2) การศึกษาสภาพสังคมผ่านงานศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะที่เชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องรัฐ - ชาติ ที่ปรากฏในสังคมไทยนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 (3) การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อข้อเท็จจริงทางวิชาการเป็นการพัฒนาวิธีการศึกษาตามแบบตะวันตกด้วยอิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มปรากฏชัดตั้งแต่ทศวรรษที่ 2480 สะท้อนให้เห็นการรับอิทธิพลของการศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาปฏิฐานนิยม (Positivism) และ (4) การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะแนววิพากษ์ ที่ปรากฏในทศวรรษที่ 2520 โดยสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมของนักวิชาการที่รับอิทธิพลของการวิพากษ์ตามแนวความคิดแบบหลังสมัยใหม่

Abstract

                This article aims to analyze the Thai society through the approaches of art history study in Thailand. The study found four differing approaches taken to investigate the Thai society. First, a study of Thai society was explored from inscriptions and legends. The study indicated that the study of art history in Thailand before the reign of King Rama V reflected the society rigidly adhered to religious beliefs. Second, an exploration of the society was conducted through the study of art history concerning the nation and state occurring in the Thai society since the reign of King Rama V.  Third, a study of art history for academic facts influenced from Western scientific knowledge evident since 1937 (2480) reflected the influence of Positivism. Lastly, a study of art history criticism occurred in 1977 (2520) manifested the society of the scholars who were impacted by the concept of postmodern.

Article Details

บท
บทความวิจัย