“อาณาจักรสุโขทัย”: การประกอบสร้างประวัติศาสตร์จากตำนานและความเชื่อของคนไทย “Kingdom of Sukhothai”: The Construction of History from Thai Legendsand Beliefs

Main Article Content

สายป่าน ปุริวรรณชนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

แม้ปัจจุบันจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งบ่งชี้ว่าแคว้นสุโขทัยเป็นแต่เพียงนครรัฐการค้าในลุ่มแม่น้ำยม ทว่าความเชื่อที่ว่า “อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย” ยังคงปรากฏอยู่อย่างแพร่หลายในลักษณะเดียวกับ “ตำนานเมือง” อันเป็นข้อมูลคติชนในสังคมวัฒนธรรมไทย ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งวิเคราะห์ลักษณะความเป็นตำนานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบสร้างความเป็นตำนานของ “เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัย” รวมถึงหาคำอธิบายว่านอกเหนือจากการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมแล้ว เหตุใดคนไทยทั่วไปจึง “เชื่อ” ว่าตำนานดังกล่าว คือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย”

ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัยมีส่วนสำคัญที่ทำให้นครรัฐแห่งนี้กลายเป็น “อาณาจักรในตำนาน” ซึ่งถือกำเนิดจาก “วีรบุรุษ” โดยเฉพาะเมื่อได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบโรแมนติกที่สัมพันธ์กับแนวคิดชาตินิยมและความรู้สึกโหยหาอดีต ยิ่งไปกว่านั้นความคิดที่ว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัย  คือ  ประวัติความเป็นมาของชาติ ยังช่วยเติมเต็มความต้องการ“ตัวตน” และ “ที่มา” ของคนไทยได้อย่างน่าพึงใจ อีกทั้งก่อให้เกิดการผลิตซ้ำเรื่องเล่าในรูปแบบต่าง ๆ อันเอื้ออำนวยให้ตำนานยังคงดำรงสถานภาพเป็นประวัติศาสตร์ แม้จะขัดต่อข้อเท็จจริงทางวิชาการ “ตัวตน” และ “ที่มา” ของคนไทยได้อย่างน่าพึงใจ อีกทั้งก่อให้เกิดการผลิตซ้ำเรื่องเล่าในรูปแบบต่าง ๆ อันเอื้ออำนวยให้ตำนานยังคงดำรงสถานภาพเป็นประวัติศาสตร์ แม้จะขัดต่อข้อเท็จจริงทางวิชาการ “ตัวตน” และ “ที่มา” ของคนไทยได้อย่างน่าพึงใจ อีกทั้งก่อให้เกิดการผลิตซ้ำเรื่องเล่าในรูปแบบต่าง ๆ อันเอื้ออำนวยให้ตำนานยังคงดำรงสถานภาพเป็นประวัติศาสตร์ แม้จะขัดต่อข้อเท็จจริงทางวิชาการ 

Abstract

Even though today’s historical evidence of Sukhothai indicated that the ancient site was just a trade state on the bank of Yom River, the myth of “the Thais’ first kingdom named Sukhothai” extendedly exists as a “myth of place”: folklore in Thai socio-cultural context. This paper, thus, aims at not analyzing features and factors establishing “Sukhothai historical narratives” but synthesizing why, other than the nationalistic historical education, the myth of ancient Sukhothai has been “regarded as” national history. 

The study reveals that Sukhothai historical narratives take significant parts to “rebuild” this city-state to be the “mythical kingdom” inaugurated by heroes, especially through the current of romanticism which is related with nationalism and nostalgia. Moreover, the “Sukhothaistory as national history” concept complaisantly fulfills the Thai’s need of both “identity” and “derivation”. It brings about the mythical narrative reproduction so that “the myths” are contemporarily concerned as “history” although almost of all stands out of historical truth, as well.

Article Details

บท
บทความวิจัย