Foreign Language Graduate Student Expectations of Instruction and Study at the Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University

Main Article Content

อรุณทวดี พัฒนิบูลย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาก่อนเข้าศึกษาและเพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่เรียนภาษาต่างประเทศต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาจีน และสาขาวิชาภาษาเยอรมัน จำนวน 52 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่า F และการทดสอบ ความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของ Scheffé ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาจีน และสาขาวิชาภาษาเยอรมันมีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอน ด้านส่วนตัว ด้านการเรียนการสอนและด้าน การนำไปใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนของเจตคติของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งจากการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อความคาดหวังของนักศึกษาที่เรียนภาษาต่างประเทศต่อการจัดการเรียน การสอน  จำแนกตามเพศพบว่า เพศที่แตกต่างกันมีระดับความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = .05 โดยที่เพศหญิงมีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่าเพศชาย สำหรับการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อความคาดหวังของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามสาขาวิชาพบว่า สาขาวิชาที่แตกต่างกันนักศึกษามีระดับ  ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน การทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับเจตคติของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามเพศพบว่า เพศที่แตกต่างกันมีระดับเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกันและการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับเจตคติของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามสาขาวิชาพบว่า สาขาวิชาที่แตกต่างกันนักศึกษามีระดับเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน

Abstract

          In this research investigation, the researcher studies graduate students at the Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University in the fields of English, Chinese, and German in regard to their expectations of, and their attitudes toward, foreign language instruction and study.  

            The sample population consisted of 52 graduate students at the Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University enrolled in the academic year 2014 in the fields of English, Chinese, and German.  The research instrument was a five-rating scale questionnaire. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean and standard deviation. A t-test and F-test were also employed by the researcher in addition to Scheffé’s multiple comparison method. 

Findings showed that the students under study exhibited expectations toward instruction and study in the aspects of personnel; instruction and study; and implementation overall at a high level.  In regard to the attitudes toward instruction and study, attitudes were overall expressed at a good level. 

In testing hypotheses, the researcher found the following:

The demographical factor of gender corresponded to concomitant differences in the expectations of these students at the statistically significant level of α = .05.  Female students harbored greater expectations toward instruction and study. However, the demographical factor of field of study did not correspond to parallel differences in expectations towards instruction and study.

In addition, differences in the demographical factor of gender did not correspond to associated differences in attitudes toward instruction and study. Moreover, differences in field of study also did not show corresponding differences in the level of attitudes toward instruction and study. 

Article Details

บท
บทความวิจัย