สภาพการปฏิบัติและปัญหาการจัดการเรียนการสอนกระบวนวิชา ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานและศัพท์จำเป็นในชีวิติประจำวัน (ENG 1001) มหาวิทยาลัยรามคำแหง THE CURRENT INSTRUCTIONAL PRACTICES AND PROBLEMS OF BASIC ENGLISH SENTENCES AND ESSENTIAL VOCA

Main Article Content

ณภาจรี นาควัชระ
อัจฉรา ไล่สัตรูไกล
ดร. แก้วกัลยา อภัยบัณฑิตกุล
พัชรี ศรีสังข์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาการจัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานและศัพท์จำเป็นในชีวิตประจำวัน (ENG 1001) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้านเทคนิคการสอน ด้านผู้บรรยาย ด้านผู้เรียน ด้านสื่อประกอบการเรียน การสอน ด้านสภาพห้องเรียน และด้านการวัดและประเมินผล และเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง ตามเพศ  คณะ และชั้นปีของนักศึกษา  ผลการวิจัยพบว่า  เมื่อเปรียบเทียบสภาพปฏิบัติและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามเพศ  พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในภาพรวมและรายด้าน ยกเว้น สภาพปฏิบัติด้านผู้บรรยาย ซึ่งมีความแตกต่างตามเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามคณะ พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นสภาพปฏิบัติด้านผู้บรรยาย ด้านสภาพห้องเรียนและสภาพปัญหาด้านนักศึกษาเท่านั้น ที่มีความแตกต่าง  ตามคณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการเปรียบเทียบสภาพปฏิบัติและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามช่วงรหัสของนักศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ     ทางสถิติทั้งในภาพรวมและรายด้าน ยกเว้น สภาพปฏิบัติด้านการวัดและการประเมินผล และสภาพปัญหาด้านผู้เรียน ซึ่งมีความแตกต่างตามชั้นปีของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Abstract

            This research aimed to study the current instructional practices and, problems in terms of teaching techniques, lecturers, students, teaching materials, classroom conditions, and measurement and evaluation methods for teaching the Basic English Sentences and Essential Vocabulary in Daily Life course (ENG 1001) at, Ramkhamhaeng University and compare the views of the student towards these aspects according to the students’ sex, faculty, and the year of study.  It was found that in terms of sex there was no statistical difference in both overall and pairwise comparisons of instructional practices and problems between male and female.  However, for lecturers, males preferred the lecturers more than female at the significance level of .05.   In terms of  students’ faculty, overall, there was also no statistical difference among students from different faculties. However, when examining separately, it was found that students  from different faculties had different views towards lecturers and classroom conditions  at the significance level of .05. For students’ year of study, the results also showed no statistical difference in overall comparison., When examining each dimension separately, it was found that students in different years of study had different views towards the measurement and evaluation methods with the significance level of at .05.

Article Details

บท
บทความวิจัย