การเปิดรับและรูปแบบการนำเสนอข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมในทัศนะของผู้ชม The study of media exposure, program format and presentation of popular TV weather forecasts in Bangkok

Main Article Content

กุลธิดา สายพรหม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ของประชาชนและ (2) รูปแบบและการนำเสนอข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ที่ได้รับ                 ความนิยม โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน ผลการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า (1) ประชาชนเปิดรับรายการฝนฟ้าอากาศ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มากที่สุด (2) รูปแบบข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ รูปแบบผสมผสานระหว่างข่าวอ่านกับละคร ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า (1) ประชาชนที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน มีความถี่ใน              การเปิดรับข่าวพยากรณ์อากาศแตกต่างกัน (2) ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีลักษณะการเปิดรับข่าวพยากรณ์อากาศแตกต่างกัน (3) ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความนิยมรูปแบบข่าวพยากรณ์อากาศแตกต่างกัน (4) ประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความนิยมเนื้อหาแตกต่างกัน (5) ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความนิยมผู้ประกาศข่าวแตกต่างกัน (6) ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความนิยมสถานที่ถ่ายทำแตกต่างกัน (7) ประชาชนที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน

มีความนิยมภาพประกอบข่าวแตกต่างกัน  และ (8) ประชาชนที่มีอายุ และอาชีพต่างกันมีความนิยมเสียงประกอบข่าวแตกต่างกัน และ (9) ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความนิยมการสร้างการมีส่วนร่วมในข่าวพยากรณ์อากาศแตกต่างกัน ผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า (1) กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยผู้ใหญ่นิยมทั้งรูปแบบข่าวอ่านและรูปแบบผสมผสานระหว่างข่าวอ่านกับละคร ส่วนวัยผู้สูงอายุนิยมเฉพาะรูปแบบผสมผสานระหว่างข่าวอ่านกับละคร (2) เนื้อหาของข่าวพยากรณ์อากาศควรมีความหลากหลาย และ (3) องค์ประกอบของข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ ควรมีอย่างครบถ้วน เหมาะสม และทันสมัย

 

คำสำคัญ:    ข่าวพยากรณ์อากาศ;  การเปิดรับ;  รูปแบบและการนำเสนอรายการ

 

Abstract

The objectives of the research are (1) to study the exposure of weather forecast program and (2) to study the format and presentation of popular TV weather forecasts. The study is                     mixed methodology. The quantitative data shows that (1) Bangkok respondents exposed to weather forecast program from Channel 7 the most. (2) The format of TV weather forecasts              which received the popularity from Bangkok respondents is the mixed format of new reporting and drama. The hypothesis test indicates that (1) Respondents in different age and occupation show different frequency in weather forecast exposure (2) Respondents in different age,  education and occupation have a different exposure in weather forecast programs.                               (3) Respondents in different age, education, and occupation prefer different weather forecast programs (4) Respondents in different educational and occupation prefer different content of weather forecasts. (5) Respondents in different age, education, and occupation have a different preference in news reporters. (6) Respondents in different age, education, and occupation have a different preference in reporting locations. (7) Respondents in different age and occupation have 

a different preference in graphic design. (8) Respondents in different age and occupation have a

different preference in sound effects. And (9) Respondents in different age, education, and occupation favour in participate differently in weather forecast news. The qualitative data shows that (1) Teenager and adult respondents prefer both presentations of news reporting format and the mixture format of new reporting and drama whereas elderly respondents only prefer the mixture of news reporting and drama format. (2) The content of weather forecast news should have a variety that is not only to provide weather forecasts also provide other contents of weather condition or daily life tips. (3) The element of weather forecast news should be completed, appropriate and modern.

Keywords:   Weather Forecast News;  Media Exposure;   program format and presentation

Article Details

บท
บทความวิจัย